การเรียนรู้แบบบ้านเรียนเข้มคราม ตอนสอง
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
ได้เขียนไปบ้างแล้วถึงเรื่องการเรียนรู้จากความสนใจ จริงๆ แล้วดูเหมือนเด็กๆ จะสนใจกับสิ่งใหม่ๆ ไปเสียทุกเรื่อง 

แต่ถ้าดูกันจริงๆ ความสนใจ "จริงๆ จังๆ" นี่จะค่อนข้างอิงอยู่กับพัฒนาการ หรือพื้นฐานความถนัดส่วนตัวของเด็กๆ ดังนั้นเด็กช่วงวัยเดียวกันก็จะไม่แปลกที่จะมีความสนใจคล้ายๆ กันได้ง่าย อาจมีเร็วช้าต่างกันบ้างนิดหน่อยเท่านั้น 
[break]
เมื่อสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายๆ เรื่องตามลำดับวัย ตามลำดับพัฒนากา
รนี้แล้ว ในการเรียนรู้ เด็กก็ไม่ได้มาเรียนรู้แบบทื่อด้านเฉพาะทางเฉพาะด้านนั้น แต่ลักษณะการเรียนรู้ของเขาออกแนวบูรณาการในหลายมิติ หลายทิศทางโดยธรรมชาติอยู่แล้ว โดยเราไม่จำเป็นต้อง "บูรณาการยำใหญ่" ให้เด็กแต่อย่างใด เพียงแต่อาจจะ "ชี้" ให้เห็นประเด็นที่เกี่ยวข้อง หรืออาจจะลากๆ ออกไปบ้าง เพื่อให้โลกทัศน์จากกรอบสิ่งที่เขาสนใจกว้างขึ้น

สำหรับเรื่องนี้ก็เป็นความคิดเห็นส่วนตัวอีก เพราะบางท่านอาจแย้งว่าเราเลือกสิ่งที่เราชอบหรือสนใจเท่านั้นไม่ได้ ในชีวิตจริงๆ เราอาจจะเจอแต่สิ่งที่ไม่ชอบ และไม่สนใจมากกว่า ซึ่งเรื่องนี้ผมมองว่าเป็นเรื่องทางทัศนคติต่อการมองสิ่งที่เข้ามาในชีวิต เพราะทุกสิ่งที่เข้ามาหาเรา แน่นอนว่าคงไม่ใช่สิ่งที่เราชอบทั้งหมด แต่อยู่ที่มุมมองและทัศนคติของเราว่าจะมองด้วยมุมของตนเอง หรือจะมองในมุมที่ (อ้างกันว่า) ถูกบังคับให้มอง สิ่งเดียวกันแต่ละคนก็เห็นไม่เหมือนกัน บางคนหัวแข็งก็บอกว่าวิธีที่ "ใช่" คือเอาหัวพุ่งชนกำแพงเข้าไป แต่บางคนเลือกเดินอ้อมหรือบางคนอาจจะไม่ไปยุ่งกับกำแพงก็ยังได้ กำแพงเดียวกัน แต่ว่าแต่ละคนเลือกปฏิบัติได้ไม่เหมือนกัน


 "ความเป็นจริง" เสียอีก ที่การเรียนรู้แบบแยกส่วน เฉพาะเรื่องเฉพาะทาง แยกแต่ละเรื่องแต่ละวิชาออกจากัน โดยเฉพาะในวัยเด็กนี่กลับเป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติอย่างมาก

เพราะไม่มีปัญหาอะไรในชีวิตหรอกที่จะเข้ามาแล้วก็บอกว่าให้ตอบเฉพาะในมิติของวิชาคณิตศาสตร์ หรือตอบแบบวิทยาศาสตร์ หรือตอบแบบประวัติศาสตร์เท่านั้น หากแต่ "ความเป็นจริง" เข้ามาหาเราในทุกทิศทุกทางและทุกมิติพร้อมๆ กัน


มีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมอยู่สอง เท่าที่นึกได้ในตอนนี้
 
คนแรกคือคุณสตีฟ จอบส์ ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตไปไม่นาน แต่เชื่อกันว่าชื่อของท่านคงเป็นตำนานในวงการคอมพิวเตอร์ในฐานะผู้สร้างนวตกรรมใหม่ๆ ให้กับวงการคอมพิวเตอร์มากมาย ...ส่วนมากรู้กันว่าท่านเรียนไม่จบมหาวิทยาลัย นั่นก็เรื่องหนึ่งละ แต่หลายคนอาจจะคิดว่าถึงไม่จบมหาวิทยาลัยก็คงจะเรียนรู้ในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์เชิงลึก เป็นวิศวกรที่เก่งกาจ แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ใช่อีกครับ แม้ในปัจจุบันก็ยังมีคนถกกันในประเด็นที่ว่าคุณจอบส์อาจจะเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่เป็นเสียด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่คุณจอบส์สนใจจริงๆ คือศิลปศาสตร์ การออกแบบ และปรัชญา ...นี่คือมุมมองด้าน "คอมพิวเตอร์" ของนักคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท่านหนึ่งของยุคสมัย ท่านไม่ได้มองในเชิงเทคนิค หรืออาจจะไม่ได้มีฝีมือเลิศเลอในทางเทคนิคคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ็ำไป แต่มุมมองของท่านต่อ "คอมพิวเตอร์" ใน "อีกด้านหนึ่ง" นี้ ทำให้ท่านเป็นหนึ่งในผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งวงการคอมพิวเตอร์ และคงจะเป็นตำนานไปอีกนานหลังจากนี้

อีกคนนี่พอดีผมเพิ่งทำข้อมูลเรื่องประวัติของภาษา Logo เลยทำให้รู้จักชื่อคุณ Seymour Papert ท่านนี้เป็นนักคณิตศาสตร์ นักคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ออกแบบภาษา Logo ได้ปริญญาเอกในสาขาคณิตศาสตร์ และเป็นศาสตราจารย์ทางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ แต่ทำไปทำคุณเปปเปิร์ต กลับเป็นที่รู้จักในวงการการศึกษาเสียมากกว่าในฐานะผู้สร้างแนวคิด constructionism หรือ หรือทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
 
 
นี่คือ "ความเป็นจริง" ในโลกคณิตศาสตร์สำหรับคุณ Papert ครับ ไม่ใช่เป็นนักคณิตศาสตร์ที่นั่งแก้โจทย์แก้สมการอย่างเดียว


by Jo on Oct 10, 2012

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง