ตามใจหรือเชื่อใจ
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
การจัดการศึกษาแบบ homeshcool โดยเฉพาะในรูปแบบ unschooling คือการตามใจเด็กไปวันๆ หรือเปล่า อะไรคือการตามใจ อะไรคือการเชื่อใจ จริงๆ แล้วแบ่งแยกไม่ยาก ถ้าเรามองเห็นเด็กหรือลูกเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ถ้าลูกอยากได้อะไรแล้วได้มา หรือกดปุ่มสั่งพ่อแม่ได้ หรือรู้ว่าจะจัดการกับพ่อแม่อย่างไรได้ อันนี้คือการตามใจ อยากได้ของเล่นก็ได้ อยากได้ขนมก็ได้ อยากได้หนังสือก็ได้ อยากกินข้าวแม่ก็ยกมาให้
การจัดการศึกษาแบบ homeshcool โดยเฉพาะในรูปแบบ unschooling คือการตามใจเด็กไปวันๆ หรือเปล่า
อะไรคือการตามใจ อะไรคือการเชื่อใจ
 
จริงๆ แล้วแบ่งแยกไม่ยาก ถ้าเรามองเห็นเด็กหรือลูกเป็นมนุษย์คนหนึ่ง
 
ถ้าลูกอยากได้อะไรแล้วได้มา หรือกดปุ่มสั่งพ่อแม่ได้ หรือรู้ว่าจะจัดการกับพ่อแม่อย่างไรได้ อันนี้คือการตามใจ อยากได้ของเล่นก็ได้ อยากได้ขนมก็ได้ อยากได้หนังสือก็ได้ อยากกินข้าวแม่ก็ยกมาให้
 
พ่อแม่บางคนอาจจะไม่ยอมตามใจ โดยง่าย แต่มีเงื่อนไขในการตามใจอยู่ ซึ่งเด็กก็จะพัฒนาไปสู่ทักษะการ "ต่อรอง" เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ เช่นรู้ว่าพ่อแม่จะ "ตามใจ" เมื่อ... ตามใจเมื่อได้เกรดสี่ ตามใจเมื่อล้างจาน ตามใจเมื่อเป็นเด็กดี และอีกหลายๆ เมื่อ เด็กก็จะเรียนรู้กระบวนการ "กดปุ่ม" พ่อแม่เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ บางคนอาจจะมองว่าเป็นทักษะที่ดีก็ได้ เพราะเขาก็จะเรียนรู้วิธีกดปุ่มอื่นๆ ในสังคมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ แม้ว่าจะเป็นปุ่มที่ตัวเองไม่ได้อยากกด หรือทำสิ่งที่ตนเองไม่ได้อยาก ไม่ได้มีใจรักที่จะทำ หรือกระทั่งสูญเสียตัวตนไป ก็แค่ทำงานให้หนักขึ้น ก็แค่พูดให้เพราะ ก็แค่ประจบให้เป็น การรู้วิธีกดปุ่มผู้อื่นกับการเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคม จริงๆ ก็มีความใกล้เคียงกันแต่ก็เป็นคนละเรื่องกัน
 
ส่วนกรณีบังคับเข้มงวดก็กลายเป็นอีกขั้วของการตามใจ คือเสียงพ่อแม่เท่านั้นที่ถูกต้อง และลูกมีหน้าที่ทำตามคำสั่ง ...ซึ่งก็เชื่อกันว่าจะนำไปสู่อนาคตที่ดีของลูก หรือแม้แต่การใส่กิจกรรมเข้าไปรัวๆ จนลูกไม่มีเวลาคิด ไม่มีเวลาหายใจ ซึ่งส่วนมาก ถ้าไม่เบรคแตกเสียก่อน ผลมักจะออกมาได้ดังใจพ่อแม่นั่นแหละ ออกมาดูดี ฉลาด เก่ง มีความสุข บนเส้นทางที่พ่อแม่ปูไว้ให้ และอาจจะมาค้นพบความสุขที่ตัวเองออกแบบเองตอนอายุสัก... 60 มั้ง ที่จะมีเวลากลับมามองเห็นตัวเองชัดๆ ได้อีกครั้ง
ส่วนการเชื่อใจคือการเคารพในตัวตนของลูก ในสิ่งที่ลูกเห็นว่าเรื่องนี้มันสำคัญต่อเขา ตักเตือนเมื่อสิ่งที่ลูกเห็นว่าสำคัญไปละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นหรือทำให้ข้าวของเสียหาย
 
จริงๆ ตรงนี้จะได้ยินเรื่องนี้อยู่บ่อยๆ ครับ กฎเหล็กมีแค่สามข้อ ห้ามทำร้ายตนเอง ห้ามทำร้ายผู้อื่น ห้ามทำลายข้าวของ
 
รวมถึงเรียนรู้การเคารพผู้อื่นและอยู่ร่วมกันในสังคม ในชุมชน ในครอบครัว ในครอบครัวก็ต้องเรียนรู้ที่จะช่วยกันดูแล ช่วยกันทำงาน ในสังคมก็ต้องเรียนรู้การที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือกระทบสิทธิผู้อื่น อะไรที่เห็นไม่ตรงกัน ก็คุยกัน พูดจาตักเตือนกัน อะไรที่เป็นความผิดตามการตีความของสังคมหรือพื้นที่ส่วนรวม ก็บอกกล่าว ทำความเข้าใจ แต่มอบอำนาจ มอบการตัดสินใจให้เป็นเรื่องของลูก ไม่ใช่การตามใจ และไม่ใช่การบังคับ ลูกได้เรียนรู้ที่จะตัดสินใจและรับผลของการตัดสินใจนั้นด้วยตนเองโดยไม่ต้องกล่าวโทษหรืออ้างเป็นความผิดของพ่อแม่หรือผู้อื่น
 
ผมไม่ใช่นักจิตวิทยา ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงลูก เขียนจากประสบการณ์ เขียนจากความเชื่อของตนเองครับ ผู้อ่านโปรดพิจารณา

by Jo on Jan 20, 2021

Posted in เรื่องเล่าโฮมสคูล, ไม่มีหมวดหมู่

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง