นำทางบันทึก : บริการทำศพแบบทางเลือกที่มากขึ้นในยุคโรคระบาด
ถึงจะจากไปแล้วแต่เราก็ยังมีประโยชน์อยู่นะ
เนื่องจากเกิดโรคระบาดขึ้นทั่วโลกให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย และแน่นอนเราจะทำยังไงกับศพเหล่านี้ดีนอกจากเผาหรือฝังไปแล้วไม่ได้อะไรกลับมาเลย
เบนด์ เดบุสแมนน์ จูเนียร์ ผู้สื่อข่าวสายธุรกิจของบีบีซี ได้มีการพูดคุยกับกลุ่มธุรกิจรับจัดการศพแนวใหม่ที่มีบริการทำศพด้วยแนวคิดสร้างสรรค์ที่ได้ทำให้มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ที่มากกว่าการจัดงานศพด้วยวิธีเดิมๆ เช่นการฝังหรือเผา
 
เปลี่ยนศพเป็นปะการังเทียม

Eternal Reefs บริษัทรับทำศพในรัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ บอกว่า การระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนสนใจใช้บริการของบริษัทมากขึ้น

ตั้งแต่ได้เริ่มทำธุรกิจในปี 1998 บริษัทนี้ก็ได้ช่วยผู้ที่เพิ่งเสียชีวิตแปลงศพของผุ้คนไปเป็นปะการังเทียมรูปโดม เพื่อที่จะได้เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยการนำเถ้ากระดูกของพวกเขาไปใส่ในส่วนผสมคอนกรีตที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จอร์จ แฟรงเคิล ผู้บริหารของ Eternal Reefs ได้บอกเอาไว้ว่า "โรคระบาดช่วยเพิ่มความสนใจ (บริการของบริษัท) ให้เพิ่มขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย...ผมเชื่อว่าโรคระบาดที่เกิดขึ้นทำให้ผู้คนเปิดรับแนวคิดบางอย่างที่นอกเหนือไปจากการฝังศพตามธรรมเนียมปฏิบัติแบบดั้งเดิม"

"เรามีลูกค้าที่เป็นผู้มีความรักความสนใจในมหาสมุทร แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ชอบแนวคิดเรื่องการให้เพื่อตอบแทนโลก"

เมื่อปี 2020 บริษัทได้นำปะการังเทียมที่มีส่วนผสมของเถ้ากระดูกผู้เสียชีวิตอยู่กว่า 2,000+ ชิ้นไปวางไว้ในทะเล 25 จุด ที่นอกชายฝั่งภาคตะวันออกของสหรัฐฯ

 

เปลี่ยนศพเป็นปุ๋ยอินทรีย์

สำหรับคนที่อยากจะให้ศพของตัวเองอยู่ที่พื้นดิน ก็สามารถใช้บริการของบริษัท Recompose ในนครซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ที่พัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ศพสามารถย่อยสลายกลายเป็นดินปุ๋ยอย่างดี ที่เหมาะกับการเอาไปทำสวนและเพาะปลูก

โดยกรรมวิธีที่ได้เล่ามานี้คือการเอาศพเข้าเก็บในช่องทรงกระบอกทำจากเหล็กที่สามารถเอากลับมาใช้ซ้ำได้อีก แล้วก็กลบศพด้วยการเอาเศษไม้สับเป็นชิ้นเล็กๆ ฟาง และพืชตระกูลถั่วที่มีชื่อเรียกว่า "อัลฟัลฟา" (alfalfa เป็นหญ้าที่เอาไว้ให้กระต่ายกินก็ยังได้)

ต่อมาก็ควบคุมระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ , ไนโตรเจน, ออกซิเจน, ความร้อน และความชื้นในช่องเก็บศพเพื่อที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเติบโตของจุลินทรีย์, แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์

เมื่อเวลาครบตามที่กำหนดไว้ศพก็จะย่อยสลายอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งก็กินเวลาประมาณ 30 กว่าวัน และแน่นอนว่าญาติๆจะสามารถนำดินปุ๋ยทั้งหมดหรือบางส่วนที่ได้รับจากการหมักศพไปใช้ปลูกต้นไม้และทำสวนได้ ก็จะได้รับดินปุ๋ยราว 3 ลูกบาศก์ฟุตต่อการย่อยสลายศพ 1 ร่าง และถ้าหากยังมีดินที่เหลือหลังจากการให้ญาติๆของผู้ตายอยู่อีก บริษัทก็จะนำไปโปรยในป่าเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติต่อ

วิธีทำศพแบบนี้ก็เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการฉีดน้ำยาให้ศพแล้วใส่โลงฝังดินมากเลยหล่ะ หรือวิธีฌาปนกิจที่จะมีการเผาทำให้เปลืองพลังงาน และทั้งยังได้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปยังชั้นบรรยากาศในปริมาณมหาศาลที่พวกเราไม่ได้คิดไว้เลยหล่ะ

แคทรีนา สเปด ผู้ก่อตั้งบริษัท Recompose ในปี 2017 ได้บอกว่า บริษัทได้มีคนสนใจใช้บริการเพิ่มขึ้นตั้งแต่ covid 19 เริ่มระบาด

เธอได้อธิบายเอาไว้ว่า มันคือการพูดคุยกับตัวเอง และกับเพื่อนฝูง, ครอบครัว แต่ขณะเดียวกันก็เป็นความคิดที่ได้เริ่มเป็นรูปธรรมเมื่อคุณเสียชีวิตลง คุณอาจต้องการทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

"เราได้ยินจากผู้คนมากมายว่านี่ช่วยให้พวกเขามีความหวังและความสบายใจ"

ส่งเถ้ากระดูกขึ้นสู่อวกาศ

สำหรับใครที่ต้องการทางเลือกที่ไม่เหมือนคนอื่นๆ ก็สามารถใช้บริการส่งเถ้ากระดูกของตัวเองขึ้นสู่ห้วงอวกาศได้เช่นกัน!

บริษัท Celestis ในสหรัฐฯ ได้เปิดให้บริการมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว โดยการส่งเถ้ากระดูกผู้เสียชีวิตไปพร้อมๆกับภารกิจในอวกาศต่างๆ เพื่อให้ปล่อยไปสู่วงโคจรของโลก หรือห้วงอวกาศที่อยู่เหนือไปกว่านั้นได้! 

ชาร์ลส์ ชาเฟอร์ ประธานเจ้าหน้าที่และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Celestis ได้บอกเอาไว้ว่า การพัฒนาของผู้ให้บริการขนส่งทางอวกาศเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ เช่น บริษัทสเปซเอ็กซ์ ของมหาเศรษฐี อีลอน มัสก์ ช่วยให้บริการแบบนี้เกิดขึ้นได้

"ปัจจุบันเราส่ง (เถ้ากระดูก) ขึ้นสู่ห้วงอวกาศปีละ 2 - 3 ครั้ง...แต่ในอีก 5 ปีข้างหน้าเราจะเพิ่มความถี่ขึ้นเป็นอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง"

เอาหล่ะทีนี้ก็หมดไปแล้วกับสามวิธีจัดการกับศพให้ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม! สนใจวิธีไหนกันบ้างหล่ะ?


by Numthang on May 07, 2021

Posted in ร่องรอยการเรียนรู้

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง