สรุป เนื้อหาในห้อง การปรับใช้หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรดึงพลังชุมชนหนุนพลังเด็ก วันแรก 2 เม.ย. 58 ตอนที่ 2/2
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
*** ดูรายละเอียดการประชุม download เอกสารต่าง ๆ ได้จาก http://all4eduthaimove.weebly.com/  ***

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับช่วงนี้ 
แนวทางการจัดทำแผน 
ตารางการออกแบบหลักสูตร 
แนวทางการเขียนแผน
สรุปการประชุมอย่างเป็นทางการ 


ช่วงที่ 3 ช่วงบ่าย
 
อ. ศีลวัต เล่าถึง ปัญหาของหลักสูตรแกนกลาง 51 ว่า (คือมันเยอะมากจดได้เท่าที่จด)
 
ไม่สามารถเป็นเครื่องมือของชาติในการพัฒนาคนและสังคม 
มันไม่มีรายละเอียดที่ควรมี
แต่ไปมีรายละเอียดที่ไม่ควรมี 
คือหลักสูตรแกนกลาง มีขึ้นเพื่อให้สถานศึกษาไปทำหลักสูตรของตัวเอง แต่ตัวหลักสูตรมีรายละเอียดมากจนคนเข้าใจผิดนึกว่าทำทำหลักสูตรให้ หลักสูตรแกนกลางจึงเป็นหลักสูตรของสถานศึกษาเสียเอง (กำหนดเวลาเรียนกับตัวชี้วัดจำนวนมาก)
หลักสูตรที่ดี (ของบางประเทศ) ธงจะชัดเจน แล้วให้แต่ละที่ แต่ละท้องถิ่น แต่ละสถานศึกษาไปใส่รายละเอียดแทน แต่ของเราธงไม่ชัดแต่ใส่รายละเอียดมาก
นอกจากนี้ที่ดี ๆ จะมีตัวช่วย เครื่องมือ คู่มือ เอกสารเป็นจำนวนมาก ออกมา อีกเป็นจำนวนมาก FRAME WORK เช่น การวัดภาษา คณิตศาสตร์ ภายหลังจากการยุบกรมวิชาการ ไม่มีคนทำเรื่องนี้ให้

เนื้อหาของหลักสูตรแกนกลางปี 51
ส่วนที่หนึ่งมีภาพมนุษย์ที่เราอยากเห็น มีปรัชญา แนวทาง พูดเรื่องความหลากหลาย 
แต่พอส่วนที่ 2 ถัดมาไม่ได้ตอบโจทย์ที่หนึ่ง แต่กระโจนเข้าสู่ 8 สาระ
พอเป็นส่วนที่ 3 คือส่วนที่รับลูกมาจาก ส่วนที่ 1 และ 2 เลยขัดกันเอง

แนวทางการแก้ปัญหา
ทางออกระยะสั้นคือ (ระยะยาวคือเขียนใหม่)
ยกเลิกการใช้ตัวชี้วัด เอาตัวชี้วัดเป็นเอกสารแนะนำ คือเอาออกมานอกหลักสูตร 
สิ่งที่ 51 ทำพลาดคือ เอาเอกสารแนะนำ ไปใส่ใต้ตราครุฑ เลยต้องปฎิบัติ
ผ่อนปรนการใช้เวลา ที่เขียนล๊อคไว้ เป็นรายปี ใช้เป็นเวลาช่วงชั้นแทน 
ุุ
จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่หลากหลาย เป็นตัวอย่างให้โรงเรียนใช้ โรงเรียนรวมกลุ่ม 5 โรงใช้หลักสูตรสถานศึกษาเดียวกันก็ได้
 
**********************
 
อ.นิยม รองฝ่ายวิชาการของ รร. ศรีสะเกษวิทยาลัย
 
ตอนเริ่มทำหลักสูตรทำให้กับโรงเรียนเล็ก ๆ สมัยนั้นหลักสูตรแห่งชาติให้มาน้อย เขียนน้อย เลยต้องคิดมาก
 
พอมาเริ่มทำที่ รร. ศรีสะเกษวิทยาลัย ถามผู้อำนวยการว่าจะเอาด้วยไหม อีก 20 ปีโรงเรียนเราจะเป็นผู้นำการจัดหลักสูตร เริ่มต้นด้วยการลบทั้งหมดที่เป็นโปรแกรม วิทย์ คณิต เอาออกหมด แล้วย่อยเป็นหัวข้อเล็ก ๆ เช่น เอาคำว่าเคมีออก ใช้คำว่า ปริมาณสาร สมดุล ปริมาณธาตุ เคมีอุสาหกรรม ฟิสิกส์ ก็เอาออก ใช้คำหน่วยย่อย หมด
 
ใช้เวลานานในการเตรียมกับครู คุยกับครู ประชุมกันก็มีถูกด่าลับหลังบ้าง
อ่านหลักสูตรแกนกลางจนเข้าใจ จำได้หมด เพื่อจะได้คุยกับคนอื่นได้
โรงเรียนเปิด 7 ชั่วโมงเท่านัั้น ไม่มีชั่วโมงที่ 8 ที่ 9 โรงเรียนอื่น ชั่วโมงที่ 8 ที่ 9
เราจัดทุกอันที่รัฐให้จัด และจัดที่เราอยากจัดไปด้วย มาตรฐานตัวชี้วัดจึงไม่เป็นปัญหา
ทุกวันนี้เปิดลงทะเบียนออนไลน์ เราจ้างโปรแกรมเมอร์
อาจารย์บอกว่า โรงเรียนใหญ๋มาดูบอกว่าต้องโรงเรียนเล็ก ถึงจะทำได้ 
โรงเรียนเล็กมาดูบอกต้องโรงเรียนใหญ่ ถึงจะได้ 
โรงเรียนกลาง ๆ มาดูบอก ต้องใหญ๋ ๆ หรือเล็กๆ ถึงจะจัดได้ สรุปมันอยู่ที่คน
สพฐ. มาดูผมไม่แน่นใจว่าเค้าจะกล้าบอกว่าโรงเรียนต้องจัดแบบนี้
มีเปิดวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา สำหรับนักกีฬา นับหน่วยกิจเป็น วิทยาศาสตร์
วิชาคหกรรม ทำอาหาร พอปรับเป็นวิชา โภชนาการ ใส่เป็นหมวยวิทยาศาสตร์ได้ แล้ว วิชาของเด็กจึงยาวใน ปพ. ซึ่งเราก็ใส่เป็นหมายเหตุไว้ใน ปพ.
ถ้าเราแม่นจริง ไม่ต้องไปกลัว
พวกคุณทำ HOMS SCHOOL ผมทำ school home
ทุกชั่วโมง มีเด็กนั่งเล่น นั่งคุย คืออย่างนี้ยังดีกว่าไปนั่งเรียนกับ ครูที่สอนไม่รู้เรื่อง เด็กนั่งเล่นนั่งคุยเค้าก็เรียนรู้
มีนักเทนนิส เยาวชน มีเวลาเรียนแค่ 10 วันต่อเดือน กำลังดูว่า จะเชื่อมโยงหรือให้เค้าเรียนอะไร และเชื่อมโยงประสบการณ์ของเค้าเข้ากับวิชาอะไร เพื่อให้เค้าไปได้
 
********
 
ประเด็นสำคัญสำหรับคนที่เตรียมเขียนแผน
คือในหลักสูตรแกนกลางนั้น ถูกสร้างมาจากสารตั้งต้นคือ มาตรา 23 (เข้าใจว่าในพรบ. การศึกษา )
แตกออกมาเป็น เป้าหมาย มีกระบวนการ สร้างตัวชี้วัด
ซึ่ง คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ มาตรฐานที่พึ่ประสงค์ 64 ตัวนั้น เป็นส่วนที่เอาออกจากหลักสูตรแกนกลางไม่ได้ เรายังต้องทำ แต่ว่าไม่น่าเป็นปัญญา เพราะไม่ยาก เราสามารถทำได้ แต่ที่เป็นปัญญาคือ รายละเอียดตัวชี้วัด ซึ่งอันนี้เรากำหนดเอง ขึ้นมาให้สอดคล้องกับกระบวนการของเราได้ ให้สะท้อน 67 มาตรฐาน
 
**** จบเท่าที่เก็บได้ในวันนี้ ที่เหลือเป็นการทำแบบฝึกหัด ********
 
ต่อไปเป็นส่วนวิเคราะห์ของผมเอง
ถึงจุดนี้ผมก็ยังเห็นว่า คนทำ HS บางบ้านก็ยังคงไม่ได้ทำตามกระบวนการแบบนี้ เพราะเราไม่ได้ถึงกับกำหนด วางอะไรล่วงหน้า กันมากมาย เราไม่ได้มีมาตราฐานมาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะบ้านที่ unschooling เราแค่หาวิธีการพัฒนาศักยภาพมนุษย์คนหนึ่งให้เต็มศักยภาพเท่าที่เค้าจะไปได้ใกล้ ในสภาวะแวดล้อม ที่เราทำได้ คือเราทำเต็มที่เท่าที่ทรัพยากรและความสามารถเรามี ซึ่งท้ายที่สุด เด็กก็พัฒนาได้เต็มศักยภาพของเค้า ซึ่งท้ายที่สุดมันก็ไปสะท้อน หรือเข้ามาตรฐานที่หลักสูตรแห่งชาติกำหนดอยู่ดี โดยที่เราไม่ได้กะเกณฑ์ วางแผน กำหนดมาตราฐานไว้ล่วงหน้ามากมาย ในแง่นี้ผมจึงมองว่า วันดีคืนดี ถ้าเราพัฒนาเด็กได้เต็มศักยภาพของเค้าแล้ว แต่กลับไม่สะท้อนมาตฐานของชาติ นั้นอาจหมายความว่า เราอาจจะมีเกณฑ์มาตรฐานแห่งชาติที่ไม่ได้เรื่องก็ได้ ซึ่งโชคดี ว่ามันยังไม่เกิดขึ้น

by Patai on Apr 16, 2015

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง