กรณีศึกษา การเขียนแผนจัดประสบการณ์บูรณาการแบบมอนเตสซอรี่ (ระดับปฐมวัย)
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
การศึกษาปฐมวัยไม่ใช่ภาคบังคับ นักโฮมสคูลที่ไม่อยากยุ่งยากในการจดทะเบียนบ้านเรียนจึงไม่ค่อยให้น้ำหนักกับการเขียนแผนการจัดการศึกษาโดยครอบครัวเท่าไหร่นักเพราะเขียนตาม Platform ที่หลักสูตรปฐมวัย 2546 กำหนดมาก็สามารถเข้าใจได้กว้าง ๆ แล้ว แต่นักอ่านแผนฯ ก็ถูกฝึกมาให้อ่านแผนแบบชัดเจน เจาะจง เห็นภาพ มีที่มาที่ไป มีการวัดและประเมินผล เมื่อนักอยากโฮมสคูลเจออุปสรรคก้าวแรกในระดับปฐมวัยของลูกแล้วพาลเบื่อกับปัญหานี้ก็มีแนวโน้มที่จะไม่โฮมสคูลต่อในระดับประถม หรือเลี่ยงไปทำในลักษณะอื่นแทน โดยส่วนตัวให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยและยินดีเป็นอย่างยิ่งหากมีใครให้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายในการจัดการเรียนการสอน เมื่อได้สิทธิ์นี้แล้วก็อยากจะใช้ให้เต็มที่และมีประโยชน์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นกรณีศึกษาที่หลาย ๆ บ้านอาจจะไม่เคยได้เห็นแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักการจัดทำตามหลักสูตรปฐมวัย 2546
ยอมรับว่าการเขียนแผนฯในลักษณะนี้ยากและพ่อแม่เองก็ไม่ได้มีอาชีพเขียนแผนฯ แต่เห็นประโยชน์ตรงที่เคยมีคุณแม่ท่านนึงสอบถามการทำโฮมสคูลแบบมอนเตสซอรี่เข้ามาและเราเห็นความตั้งใจนั้นและให้คุณแม่ท่านนั้นศึกษาแผนจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่ คุณแม่ท่านนั้นดีใจมากกับการเดินทางที่ไม่โดดเดี่ยว แผนการจัดประสบการณ์จึงควรเป็นสื่อกลางให้กับบ้านอื่นได้เห็นภาพการนำไปใช้ประโยชน์ได้จากรุ่นสู่รุ่น จุดนี้เองทำให้เห็นว่าเราควรให้ความสำคัญกับการเขียนแผนฯ เพราะไม่เพียงเราเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์แต่เป็นนักโฮมสคูลรุ่นต่อไปด้วยที่จะมั่นใจในทางเดินของตัวเอง เมื่อเราจัดมาตรฐาน-ตัวบ่งชี้ (ต.ย.ที่ดาวน์โหลดกันไปในกลุ่ม) และวางโครงสร้างหลักสูตรแล้ว ก็มาถึงการเขียนแผนการจัดประสบการณ์แบบแจกแจงรายละเอียด ในกรณีศึกษานี้เป็นการนำหน่วยการจัดประสบการณ์มากำหนดรายละเอียดสาระการเรียนรู้


*หน่วยเรียนรู้หน่วยเรียนรู้จะถูกตั้งชื่อขึ้นมา (หนูทำได้,จ๊ะจ๋าแต่งตัว,...) โดยใช้หนังสือชุดการอ่านตามระดับความสามารถเป็นสื่อกลางแล้วโยงไปสู่สาระการเรียนรู้ค่ะ

ผังความคิดให้เราได้เห็นภาพสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรปฐมวัย


เราไม่ได้เป็นคนจัดทำแผนการจัดประสบการณ์นี้นะคะ แต่แผนฯนี้จัดทำขึ้นจากคณะทำงานด้านนี้โดยตรงของสพฐ.และใช้กันทั่วไปในร.ร.อนุบาลของภาครัฐที่มีการนำมอนเตสซอรี่เข้าไปใช้ซึ่งเราทั่วไปจะไม่ได้มีโอกาสได้เห็นและจะนึกภาพการเขียนแผนฯไม่ออก จึงนำมาลงไว้เป็นกรณีศึกษาและขอเป็นเพียงผู้ถ่ายทอดและวิเคราะห์ในฐานะที่ทำโฮมสคูลแบบมอนเตสซอรี่ โดยแผนฯเหล่านี้ไม่ใช่การจัดการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่แท้ ออกลักษณะบูรณาการมากกว่าค่ะ ดังนั้นปฐมวัยทั่วไปก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ค่ะ





จบแล้วสำหรับกิจกรรมที่เราจะจัดให้เด็กใน 1 วันค่ะ ก็อยู่ในวิสัยที่ไม่ขัดใจพ่อแม่มากนะคะ การวัดผลและประเมินก็เจาะจงที่การสังเกตพฤติกรรมเด็ก ไม่ใช่การให้คะแนน มีระดับการประเมิน 1-3 ที่คุณพ่อคุณแม่เองอาจจะไม่ได้นึกถึงด้วยซ้ำไป บางครั้งเราก็ต้องยอมรับในความเป็นนักการศึกษาที่สามารถออกแบบการประเมินเป็นระดับต่าง ๆ ไว้ด้วย แม้แผนลักษณะนี้จะดูเป็นการเป็นงาน แต่ในทางปฏิบัติจริงมันจะลื่นไหลแบบไม่ได้อ่านตำราสอนหรอกค่ะ ในฐานะที่เราจะนั่งแท่นผู้อำนวยการการศึกษาให้กับลูก บางทีเราก็ต้องจัดระเบียบมุมมองตัวเองและการเขียนออกมาลักษณะนี้ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจอยู่เหมือนกันค่ะ

ทีนี้มาดูต่อในวันที่ 2 อาจจะทำให้เราสนุกกับการเขียนแผนฯขึ้นมาก็ได้นะคะ




เริ่มมีการใช้ใบงานเข้ามาช่วยในการประเมิน แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบให้คะแนนค่ะ อนุบาลก็แค่ตรวจสอบว่าทำได้หรือไม่ได้ ทั้งหมดนี้ก็เผื่อบางบ้านมีความสามารถในการเขียนแผนฯ เป็นการเป็นงานแบบนี้นะคะ บางครั้งเราต้องได้เห็นตัวอย่าง เราถึงจะเข้าใจกันมากขึ้นทุกฝ่ายค่ะ หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ
 

by Judy on Jan 30, 2017

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น
No tags found

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน
No related posts found
โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง