ยังไม่รู้จะสอนอะไรลูกก็ทำ homeschool ได้ : ทำไมเราจึงไม่ควรใช้หลักสูตรตั้งแต่แรก
เมื่อคิดย้อนไป ผมพบว่าเวลาที่เราเริ่มมีลูก กับเวลาเราเริ่มต้นจัดการศึกษาให้กับลูกมีจุดร่วมเหมือนกันคือ เราไม่รู้ว่าเราจะเลี้ยงลูกยังไง ต้องทำอะไรบ้าง เช่นเดียวกันกับการจัดการศึกษา เราไม่รู้ว่า เราต้องทำอะไร จัดการเรียนการสอนให้ลูกอย่างไรบ้าง หลังจากนั่นเราก็จะทำเหมือน ๆ กันคือ ไปหาหนังสือมาอ่าน สอบถามพ่อแม่หรือเพื่อนฝูงที่มีประสบการณ์มาก่อน ประมาณเลี้ยงลูกตามหนังสือ และผมคิดว่ามันเป็นกระบวนการที่ดี

เมื่อคิดย้อนไป ผมพบว่าเวลาที่เราเริ่มมีลูก กับเวลาเราเริ่มต้นจัดการศึกษาให้กับลูกมีจุดร่วมเหมือนกันคือ เราไม่รู้ว่าเราจะเลี้ยงลูกยังไง ต้องทำอะไรบ้าง เช่นเดียวกันกับการจัดการศึกษา เราไม่รู้ว่า เราต้องทำอะไร จัดการเรียนการสอนให้ลูกอย่างไรบ้าง หลังจากนั่นเราก็จะทำเหมือน ๆ กันคือ ไปหาหนังสือมาอ่าน สอบถามพ่อแม่หรือเพื่อนฝูงที่มีประสบการณ์มาก่อน ประมาณเลี้ยงลูกตามหนังสือ และผมคิดว่ามันเป็นกระบวนการที่ดี



4 หัวข้อนี้ เป็นสิ่งที่ผมอยากบอกว่าทำไม เราถึงไม่จำเป็นต้องมีหลักสูตรหรือรู้ว่าจะสอนอะไรลูกตั้งแต่แรก

1) เพราะการเรียนรู้นั้นสำคัญ ถ้าคุณไม่รู้อะไรเลยคุณต้องเริ่มต้นเรียนรู้ทุกอย่าง เรียนรู้จากหลากหลายแนวทาง แล้วปรับทุกอย่างที่ได้เรียนรู้เข้ากับตัวเอง บางครั้งพ่อแม่ homescool ที่เคยเป็นครูมาก่อนถึงกับยอมรับว่าการเป็นครูมาก่อนแล้วมาทำบ้านเรียนนั้นยากกว่าเพราะมีกรอบ อดไม่ได้ที่จะต้องคอยสอนลูกอยู่ตลอดต้องปรับตัวที่จะเฝ้าดูลูกเรียนรู้และคอยสนับสนุนเมื่อลูกต้องการ คนที่คิดว่าตัวเองไม่มีความรู้อะไรเลยจึงน่าจะดีใจในจุดนี้

2) เพราะทำให้เราเรียนรู้จากตัวเอง สิ่งแวดล้อมและใช้ทั้งหมดที่มี ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยการยึดถือแนวทางของหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งคุณอาจจำเป็นต้องหาอุปกรณ์ ผู้รู้ตามแนวทางของหลักสูตรนั้นนั้น ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อหลักสูตรแกนกลางของประเทศถูกนำไปใช้กับโรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนในชนบทโรงเรียนตามดอยจะมีปัญหามาก เพราะขาดทั้งอุปกรณ์ขาดทั้งบุคลากรที่มีความรู้ครบตามหลักสูตรและต้องทำให้ได้ตามมาตรฐานหลักสูตรจากส่วนกลาง กลายเป็นว่าการจัดการเรียนการสอนของชนบทนั้นไม่ดีตกมาตรฐานกลาง กลายเป็นโรงเรียน นักเรียนชั้นสอง แต่ถ้าเราได้เรียนรู้ขึ้นมาจากพื้นฐานของเราดึงทรัพยากรที่มีรอบตัว ทำให้เราได้ทบทวนว่าเราจำเป็นต้องรู้เรื่องนั้นหรือเปล่ามันเหมาะกับเราไหม หรือมันอาจจะเหมาะกับคนอื่นแต่ไม่เหมาะกับเรา โฟกัสที่จะใช้ทรัพยากรในส่วนสำคัญจริง ๆ และในที่สุดเราจะสามารถปรับใช้ทุกอย่างที่เรามีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3) เพราะความกังวลใจช่วยให้เราใส่ใจ ค้นคว้าและตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้ นำทางเราไปสู่การเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ถ้าเราเรียนรู้อย่างจริงจัง เมื่อถึงเวลาที่เราจะใช้หลักสูตรหรือแนวทางใดแนวทางหนึ่ง เราจะใช้ได้อย่างเข้าใจเห็นจุดอ่อนจุดแข็งข้อจำกัดของหลักสูตรนั้น เข้าใจข้อจำกัดของตัวเองที่สัมพันธ์กับหลักสูตร นอกจากนี้ในกระบวนการเรียน ผู้เรียนย่อมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญด้วย การรู้จักหลักสูตร ช่วยให้เราสามารถปรับให้เข้ากับผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น จริงๆแล้วเราอาจจะต้องเรียนรู้ผู้เรียนไปพร้อม ๆ กับการเลือกใช้หรือปรับจากสูตร

4) บางครั้งการมีบทเรียนสำเร็จรูป ทำให้เด็กพลาดโอกาสที่จะสัมผัสและค่อยๆเรียนรู้จากโลกตามความเป็นจริง เช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่อย่างเรา หากมีหลักสูตรสำเร็จรูปอาจทำให้เราหยุดเรียนรู้และพลาดรายละเอียดที่สำคัญไป อยากชวนให้อ่าน บทความของคุณ คทา เรื่อง วิชาสงสัยในหลักสูตรโฮมสคูลที่คุณครู พ่อแม่ไม่ได้ให้เกรด ที่บรรยายให้เห็นว่า แค่การบอก "ชื่อ" ของสัตว์ ก็ทำให้การเรียนรู้หยุดลงได้

สุดท้ายหวังว่าจะช่วยให้ผู้จัดการเรียนรู้ สบายใจ ผ่อนคลายขึ้นมาบ้าง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนหรือลูก ๆ ของเราได้เปิดเผยบทเรียนต่าง ๆ ให้เราเรียนรู้วิถีที่บริสุทธิ์ เพราะแท้จริงแล้ว เราอาจไม่ใช่ครู แต่คือนักเรียน

****

สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องราว การจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ ของผมและลูกสาวได้ที่รายละเอียดด้านล่างครับ 

website พ่อ : www.pataiw.com

 

by Patai on May 11, 2018

Posted in เรื่องเล่าโฮมสคูล

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น
No tags found

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน
No related posts found
โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง