แนวทางการเรียนรู้ จำเป็นจริงๆ หรือ ภาค 1
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
สองสามวันนี้ได้มีโอกาสอ่านและโต้ตอบกับกูรูด้านแนวทางการสอนและเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยแบบแนวทางเลือก แนวที่ว่านี่มีอยู่หลายแนวด้วยกันค่ะ ตัวอย่างเช่น วอลดอล์ฟ (Waldorf), มอนเตสซอรี่ (Montessori), เรกจิโอ อามีเลีย (Reggio Emilia), การเรียนรู้แบบโครงการ (Project Approach) หรือ unschooling ทุกอันถ้าใส่กูเกิ้ลดูก็จะมีคำตอบคำอธิบายค่ะ [break] แต่จะขอเล่าจากความรู้สึกของตัวเองที่เข้าไปสัมผัสมานะคะ 

โดยรวมแนวทางพวกนี้แตกต่างกัน สามแนวทางแรกมีรากฐานมาจากยุโรป อันนี้กูรูชี้มาทำให้เราตาสว่างค่ะว่าแนวทางทั้งหลายนั้นย่อมขึ้นกับวัฒนธรรมของแต่ละที่ๆ ก่อตั้งรากฐานของแนวทางนั้นๆ ขึ้นมา จะเหมาะกับผู้นำเอาไปปฏิบัติหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับวิีถีชีวิตของผู้ปฏิบัติค่ะ ตัวเองก็โอเคนะคะเพราะอีกครึ่งของลูกก็เป็นตะวันตกอยู่ (ตัวเองก็ออกไปทางนั้นเหมือนกันค่ะ) เท่าที่รู้สึกได้ถึงการอ่านมา ทั้งสามแนวทางแชร์แนวความคิดที่คาบเกี่ยวกันในเรื่องนี้ค่ะ และที่เป็นที่ติดตาติดใจก็คือคือ เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้

child-centered - designed to promote a child's personal qualities rather than to provide training or information.1

อีกอันค่ะ

Child centred approaches: the teacher challenges the children in a safe and respectful manner to develop (together and individually) their own solutions to problems given, thus encouraging co-operation, the development of life skills, their analysing power, their capacity to organise themselves. The children feel safe, encouraged, happy and empowered in school, and have more fun; their performances rise significantly and the drop out rates decline even more.2

ซึ่งที่เมืองไทยกับหลายๆ ที่ในโลกแนวทางพวดนี้ก็จะขัดกับแนวทางการศึกษาเก่าตรงที่เด็กไม่ใช่ศูนย์กลางของการเรียนรู้ แต่เป็นคุณครูผู้สอนค่ะ อ่านมาสักเท่านี้ก็เริ่มชอบมากค่ะ คือเข้ากับความคิดเราที่คิดจะทำโฮมสคูลเลย เพราะเราอยากสอนโดยให้ลูกเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ซึ่งโรงเรียนทั่วไปคงให้เราไม่ได้อยู่แล้ว

ช่วงอยู่เมืองไทย 3 เดือนรู้สึกเลยค่ะว่าลูกกำลังเริ่มเข้าสู่ยุคทองของการเรียนรู้ คือรับแบบไม่ต้องถามมาก เราแค่จัดสภาพแวดล้อมในแบบที่เราคิดว่าเขาน่าจะชอบ หลายๆ ครั้งที่เขาสนใจที่จะทำเอง เต็มใจเป็นธรรมชาติและทำได้นานๆ ขึ้นกว่าก่อนหน้านี้มาก เราไม่ได้กำหนดว่าทำอะไรแบบตายตัว คือเขาสนใจทำอะไรก็ทำ เบื่อก็เลิก (เป็น interest-based เข้าข่าย child-centred ในแบบที่เราเข้าใจนะคะ) คือเขาเรียนรู้และค้นพบด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญค่ะ เราเองก็เริ่มชินและสนุกกับการเรียนรู้ไปกับเขาค่ะจนเราเริ่มชินกับตัวตนใหม่ของเขาและชอบที่เขาเป็นแบบนี้ ก่อนหน้านี้ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อนเลยแต่เราก็ไม่เคยคิดมากอะไรค่ะ คิดอยู่อย่างเดียวว่าถ้าเขาพร้อมเขาก็รับเองแหละ คือชิลๆ ตลอด และวันนี้ประโยคว่า child-centred ก็ย้อนกลับมาเป็นข้อคิดให้เราค่ะ คืออาจจะไม่ได้ด้วยความหมายโดยตรงที่แปะไว้ข้างบนซะทีเดียวเลยนะคะ ^^ และไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นกูรูทำเป็นรู้มากเลยค่ะ เอามาแชร์ให้อ่านเฉยๆ จริงๆ

ช่วงนี้หลังจากกลับมาฮ่องกง ลูกเปลี่ยนไปค่ะ เอาแต่จ้องหน้าไอแพดกับทีวีค่ะ ขอดูตลอด เล่นกับเพื่อนอยู่จะไม่ดู แต่พอเพื่อนกลับไปก็มาจุกกับไอแพดเหมือนเดิม เราเริ่มเสียเซลฟ์ เริ่มห่วงว่าเป็นเพราะเราเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ลูกอีกระลอกทำให้ลูกเป็นแบบนี้หรือเราทำอะไรผิดหรือเปล่า จนพ่อเขาก็เริ่มห่วงเหมือนกันค่ะ(ปกติเขาจะชิลๆ ตลอด) เราเริ่มคิดว่าจะทำยังไงถ้าเกิดเขาเป็นแบบนี้ถาวร

เริ่มรู้สึกว่าตัวเองความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด นอนคิดไปคิดมาหลายวัน เริ่มมีสมาธิและเริ่มรู้สึกปัญญากับทางสว่างเริ่มจะตามมาค่ะ คือเริ่มคิดๆ ว่าก่อนจะไปสอนลูก สอนตัวเองก่อนดีไม๊ เราคงทำให้ลูกเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ไม่ได้ถ้าเราลืมหลักพื้นฐานที่สำคัญมากกว่า child-centred นั่นก็วิถีชีวิตค่ะ วิถีของเราเปลี่ยนไป (ที่นี่เราถูกห้อมล้อมด้วยเทคโนโลยีและวัตถุในแบบที่ไม่ใช่วิถีของเรา ถึงจะไม่ใช่ทางตรงก็ตาม) ถึงเราจะพยายามจัดสภาพแวดล้อมให้คล้ายกับที่เราเคยเป็นอยู่แต่มันก็ไม่เหมือนเดิม

และอีกอย่างคือเรา underestimate ลูกเราไปรึเปล่า เราควรจะเริ่มมองลูกเราว่าเป็นบุคคลที่สามารถเหมือนเราคนนึงเหมือนกัน ลูกเราโตเร็วมากกว่าที่เราคิดและสามารถจัดการกระบวนการความคิดและจัดการกับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ดีกว่าที่เราคิดด้วยซ้ำ เราเห็นได้เลยด้วยเพราะว่าบ้านเรามีการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมบ่อยมาก แต่ลูกเราไม่เคยมีปัญหาแรงๆ เลย ส่วนใหญ่มีแต่จะต้อนรับด้วยทัศนคติในทางบวกและโตขึ้นในทางบวก แต่มันแค่บังเอิญว่าเรารู้สึกว่าสภาพแวดล้อมนี้มันไม่ดีเท่าของเก่าที่เราจากมา หรือกลัวว่าพัฒนาการใหม่ที่เราคิดว่าดีที่ลูกได้มาจะได้มีอันลาจากกันไปทำให้เรากังวล เราให้ความสำคัญกับพัฒนาการใหม่ของเขามากเกินไปรึเปล่า ในเวลาที่เขา "แตกต่าง" ไป เราคิดว่ามันเป็นปัญหา พยายามคิดแก้ปัญหา ทั้งๆ ที่จริงๆ มันไม่ใช่ปัญหาเลยด้วยซ้ำ

จริงๆ เป็นเราเองรึเปล่าที่มีปัญหากับสภาพแวดล้อมใหม่ ให้ความสำคัญกับพัฒนาการใหม่ๆ ของเขามากเกินไป และเรากำลังทำตัวเราเองให้เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ของเขาอยู่โดยไม่ตั้งใจ ในสภาพแวดล้อมนี้ไม่ได้หมายความว่าเขาจะหยุดเรียนรู้หรือเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ดี เขากำลังเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ กับพัฒนาการใหม่ๆ ที่เขาได้มาจากที่เดิมต่างหาก

คิดได้แบบนี้ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นค่ะ จริงๆ ค่ะ เราเลยตกลงไม่ไปกวนเขามากเกินจำเป็นค่ะ อยากดูก็ดูไป ดูนานเท่าไหร่ก็ตามสบาย ไม่อยากเล่นก็ไม่เป็นไร เลยไม่ค่อยไปกวนเขาแล้ว อยากทำอะไรก็ทำ ลองดูซักพัก กลับไปเหมือนตัวเองตอนที่ลูกยังไม่สนใจจะเรียนรู้อะไรเหมือนเดิมค่ะ ระหว่างนี้คุยกับเขาค่ะ ถามว่าดูอะไร เล่าให้ฟังบ้างสิ ยังถามเหมือนเดิมๆ อ่านหนังสือไม๊ ไปเล่นไม๊ ไม่ตอบก็ไม่ถามต่อค่ะ อยู่มาดีๆ บ่ายวันนี้ เขาก็เริ่มกลับมาเป็นปกติค่ะ เริ่มหาโน่นหานี่ที่บ้านทำ เริ่มรื้อค้นหาของมาทำงานทำอะไรของเขา เริ่มมาถามเรามากขึ้นให้ทำโน่นทำนี่กับเขาด้วย ตอนนี้คิดอย่างเดียวว่าเป็นยังไงก็ได้ ขอให้ลูกมีความสุขกับชีวิตก็พอและไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราชอบหรือไม่ก็ตามค่ะ

ฉะนั้นจะจบภาค 1 ไว้ตรงที่ว่า แนวทางนั้นสำคัญค่ะเพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นว่าเราเลือกมันเหมาะสมกับวิถีชีวิตของเราแค่ไหน และมันจะเป็นตัวบ่งว่าเราจะมีกำลังที่จะทำให้มันลุล่วงไปได้เท่าไรเมื่อเราพบอุปสรรค โดยส่วนตัวเลือกแนวทางให้ตรงกับวิถีของเราให้มากที่สุดค่ะ แต่รูปธรรมของแนวทางนั้นในความรู้สึกของตัวเองคงไม่สำคัญมากขนาดนั้นค่ะ การนำแก่นบางอันไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของเราที่เป็นอยู่ ณ ขณะนั้นมากกว่าที่สำคัญ สิ่งที่อ่านมา ข้อมูลต่างๆ รูปธรรมต่างๆ มีประโยชน์มาก แต่ถ้าปล่อยให้มันบงการเราจนเราละเลยวิถีชีวิต ยึดติดกับรูปธรรมและละเลยความเป็นตัวของเราเอง ละเลยสัญชาตญาณของเราและความเชื่อมั่นในตัวลูก มันก็คงจะเป็นผลร้ายมากกว่าดีค่ะ

ภาคสองจะมาเล่าถึงประโยคที่ติดตาติดใจในแนวทางเรกจิโอค่ะ สิ่งที่เราเองเพิ่งเริ่มเข้าใจบ้างค่ะ ^^


1หาความหมายจาก online dictionary ได้เลยค่ะ http://www.thefreedictionary.com/child-centered
2http://civicdrivenchilddevelopment.files.wordpress.com/2008/07/child-centred-approaches_rogier-van-t-rood.pdf



by Kung on Aug 15, 2012

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ป้ายคำค้น
No tags found

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน
No related posts found
โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง