บทเรียนคณิตศาสตร์ในแปลงผัก 1 ชาตรี สำราญ
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
บทเรียนคณิตศาสตร์ในแปลงผัก จากวารสารวิทยบริการ 
ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มค - เมย 2542
               
มีคนถามผมบ่อยครั้งว่า  ที่ผมสอนโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมสื่อนั้น  ถ้านำมาสอนคณิตศาสตร์จะมีการสอนอย่างไร  และสอนได้ที่ตรงไหน  คำถามดังกล่าวนี้  ผมสนใจมาก  สนใจว่าผู้ถามมีจุดประสงค์อะไร  ทำไมจึงถามอย่างนั้น  และหวังผลในคำตอบมากน้อยเพียงใด  ส่วนตัวผมเองนั้นก็ตั้งคำถามตัวเองว่า  สอนไปทำไมครับ!  ทุกครั้งที่ผมคิดจะสอนอะไร  ผมจะต้องถามตัวเองก่อนว่า  สอนทำไม  ที่ผมถามตัวเองก่อนนั้น  เพราะผมนะตอบเด็กๆ  ถูก  ถ้าเด็กๆ  ถามผมว่า  เรียนไปทำไม  ปัญหาสำคัญของการจัดการศึกษาทุกวันนี้  อยู่ที่ครูหลายๆ คน  ยังไม่รู้ว่าตนเองนั้นจะต้องสอนไปทำไม  และผู้เรียนส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ว่า  จะต้องเรียนไปทำไม  [break]
เมื่อตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้  ผลของการจัดการเรียนการสอนจึงออกมาว่า  เรียนเพื่อท่องจำ  นำไปทำข้อสอบได้  เท่านั้นเอง  ผมถามตัวเองว่า  สอนไปทำไม  คำถามที่ชวนให้สงสัยนี้  ทำให้ผมต้องค้นหาคำตอบ  แหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด  ขณะนี้คือ  หลักสูตร  ผมต้องเปิดหลักสูตรประถมศึกษา  พุทธศักราช 2521  ฉบับปรับปรุง  พ.ศ. 2533)  หน้า 18  ดูจุดประสงค์ซึ่งเขียนบอกไว้ว่า  “เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาพัฒนาความสามารถในการคิดการคำนวณ  สามารถนำคณิตศาสตร์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และในการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพ...”  ผมสนใจตรงที่บอกว่า  “ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการคิด”  ถามต่อไปว่า  พฤติกรรมนี้จะให้เกิดมีขึ้นทำไม  ผมก็ดูข้อความต่อไป  ที่กล่าวว่า  “สามารถนำคณิตศาสตร์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และในการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพ...”   ข้อความเหล่านี้  ถ้าอ่านผ่านๆ  ก็ไม่มีอะไรมากมายนัก  แต่ถ้าไตร่ตรองให้รอบคอบก็จะมองเห็นสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ข้างใน  “...เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ...”  เป็นไปได้หรือคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  อะไรคือเครื่องมือของการเรียนรู้ 1+1 = 2  หรือคงไม่ใช่  7+7 = 14  หรือก็คงจะไม่ใช่อีกนั่นแหละ  แล้วอะไรล่ะ  คือเครื่องมือที่สูงค่าสำหรับนำไปเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้  ผมคงต้องย้อนกลับไปอ่านข้อความข้างต้น  เพื่อค้นหาปริศนาคำซ่อนเร้นอยู่ก็พบว่า  ความสามารถในการคิดนั่นเอง  ที่จะเป็นเครื่องมือในการนำไปเรียนรู้สิ่งต่างๆ  ได้  เมื่อคิดได้ถึงตรงนี้  ผมก็เริ่มมองเห็นลู่ทางที่จะตอบใครๆ  ได้ว่า  “สอนไปทำไม”  ก็สอนให้เด็กๆ รู้จักคิด  เพื่อให้มีความสามารถในการคิด  จะทำได้อย่างนี้ครูผู้สอนจะต้องปลูกฝังผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์คือ
 
    มีความรู้  ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน  และมีทักษะในการคิดคำนวณ

    รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล  และแสดงความคิดออกมาอย่างมีระบบชัดเจนรัดกุม

    รู้คุณค่าของคณิตศาสตร์และเจคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

    สามารถนำประสบการณ์ทางด้านความรู้  ความคิด  และทักษะที่ได้จากการเรียนคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และใช้ในชีวิตประจำวัน

ในข้อ 4  จะเห็นเจตนารมณ์ของหลักสูตรอย่างเด่นชัดว่า  ต้องการให้นักเรียนนำความคิดและทักษะที่ได้จากการเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ครูจะทำอย่างไร  จึงจะให้นักเรียนนำความรู้  ความคิดของตนที่เรียนรู้คณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  นี่คือ  สิ่งที่ผม  คนเป็นครูจะต้องคิด  ผมคิดว่าจะไม่ยึดหนังสือแบบฝึกหัดที่มีอยู่  เพราะนั่นเป็นการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพียงวิธีเดียวคือ  เรียนจากหนังสือ  ผมน่าจะสอนให้เด็กเรียนโดยปฏิบัติจริงจะดีกว่า  แต่ทำอย่างไรให้สนองเจตนารมณ์ของหลักสูตรได้  ลองดูจุดประสงค์จากคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรพบว่า  ได้วางจุดประสงค์ไว้ชัดเจนว่า
ช่วงชั้น ป.1-2

    เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ  และทักษะเบื้องต้นในคณิตศาสตร์พื้นฐาน

    สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์พื้นฐานชั้นต่อไป

ช่วงชั้น ป.3-4
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะเบื้องต้นในคณิตศาสตร์พื้นฐาน  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น  และใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์พื้นฐานในชั้นต่อไป
ช่วงชั้น ป.5-6
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ  และทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์  และเรียนรู้มวลประสบการณ์ในการดำรงชีวิตต่อไป
จะเห็นได้ว่า  จุดประสงค์ของหลักสูตรในคำอธิบายรายวิชานั้นจะเพิ่มความเข้มข้นของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในแต่ละช่วงชั้นอย่างเห็นได้ชัดเจน  พอที่จะเป็นกรอบให้ผมสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมการสอนผิดพลาดคือ

    สอนแล้วไม่บรรลุจุดประสงค์ที่หลักสูตรวางไว้

    สอนจนเลยเถิดพ้นหายออกนอกกรอบทิศทางที่หลักสูตรวางไว้

ทั้ง 2 ประการนั้นคือ  อันตรายต่อการจัดการเรียนรู้สู่ผู้เรียนยิ่งนัก  เมื่อผมเข้าใจกรอบของหลักสูตรเกี่ยวกับจุดประสงค์แล้ว  ผมก็เริ่มศึกษาเนื้อหาสาระที่หลักสูตรระบุไว้ในคำอธิบายรายวิชาก็ไม่ใช่เรื่องยาก  เมื่อเราเข้าใจจุดประสงค์และอ่านเนื้อหาสาระของหลักสูตรในคำอธิบายรายวิชาของคณิตศาสตร์ได้แล้ว  ก็เริ่มคิดถึงกิจกรรมที่นำมาจัดการเรียนการสอนได้ทันที


by Suppakrit on Aug 21, 2012

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น
No tags found

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน
No related posts found
โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง