บทเรียนคณิตศาสตร์ในแปลงผัก 2 ชาตรี สำราญ
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนการสอนง่ายๆ ภายในแปลงผัก
สังเกตการณ์แตกต่างของรูปร่าง  ขนาด  และสีของใบไม้ที่เก็บมาได้ เปรียบเทียบจำนวนใบไม้  จับคู่กันแล้วนับใบไม้ในกำมือของแต่ละคน บอกตำแหน่งของใบไม้ที่เก็บมาได้ ทั้ง 3 ข้อนี้เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์พื้นฐาน  พอเด็กๆ  เข้าใจในเรื่องราวเหล่านี้แล้ว  ครูก็ดำเนินการขั้นต่อไปได้  คือ[break]
ฝึกนับจำนวนของต้นไม้ในแปลงผัก นำจำนวนของต้นไม้ที่แต่ละคนนับได้มารวมกัน  หรือแบ่งเป็นกลุ่มแล้วมาเปรียบเทียบว่ากลุ่มใดนับได้มากกว่ากัน แต่ละกลุ่มนับจำนวนต้นไม้ให้มีจำนวนเท่าๆ กัน  แล้วร่วมกันคิดว่า 3.1 แต่ละกลุ่มมีจำนวนต้นไม้  (ที่นับได้)  เท่าไร
3.2 มีวิธีคิดอย่างไรบ้าง  (ให้แสดงวิธีคิดหลายๆ วิธี) 
ให้ทุกคนมีจำนวนต้นไม้เท่าๆ กัน  แล้วแบ่งแกเป็นรายคนถามว่าคนๆ นั้นมีต้นไม้เป็นเศษส่วนเท่าไรของจำนวนต้นไม้ทั้งหมดที่ทุกคนมีอยู่ วัดความกว้าง  ยาว  สูง  ของแปลงผักแล้วคำนวณพื้นที่ วัดความสูงของต้นพืชในแปลงผักแล้วนำมารวมกัน เขียนกราฟแสดงความสูงของต้นไม้ในแปลงผัก นักเรียนชั่งนำหนักพืชผักที่เก็บได้  ตั้งราคาขาย  นำไปขายบันทึกรายรับ-รายจ่าย นักเรียนจับแมลงในแปลงผักมานับจำนวนแล้วเขียนกราฟแสดงจำนวนของแมลงแต่ละชนิดที่เก็บได้ กิจกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ครูสามารถจัดให้นักเรียนได้เล่นปนเรียนในแปลงเกษตร  ผมเชื่อว่า  ถ้าเด็กๆ ได้สนุกกับคณิตศาสตร์ในแปลงเกษตรแล้ว  พฤติกรรมที่พึงประสงค์ดังกล่าวข้างต้นก็จะปรากฏให้เห็นเด่นชัดในตัวของเด็กแต่ละคนได้  แล้วหนังสือแบบฝึกหัดที่กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการจัดให้โรงเรียนนำไปสอนเด็กๆ  นั้น  จะทำอะไรนั้นไม่ใช่สิ่งที่ยากลำบากเลย  พอสอนไปได้ระยะหนึ่งก็ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือครั้งหนึ่ง  เป็นการทดสอบความเข้าใจบทเรียนที่ผ่านมาได้อย่างดีมาก  และเป็นข้อทดสอบที่มาตรฐานไม่ต้องเสียเวลาไปหาค่าความยากง่าย  ความเที่ยงตรงให้เสียเวลาต่อไปอีก
ผมเห็นว่า  การที่ผู้เรียนได้ลงไปเรียนรู้คณิตศาสตร์ในแปลงผักนั้นเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง  ครูผู้สอนก็สามารถวัดผลการเรียนรู้ได้ตามสภาพความเป็นจริง  ซึ่งตรงกับที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกรอบจุดประสงค์การเรียนรู้กลุ่มทักษะคณิตศาสตร์ไว้ตามช่วงชั้นต่างๆ  ดังนี้  คือ
 
 กรอบจุดประสงค์การเรียนรู้กลุ่มทักษะคณิตศาสตร์
สมรรถภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ชั้น ป.1-2 จุดประสงค์การเรียนรู้ชั้น ป.3-4 จุดประสงค์การเรียนรู้ชั้น ป.5-6 1. ความรู้ความเข้าใจ
 
2. ทักษะการคิดคำนวณ
3. กระบวนการทางคณิตศาสตร์
 
 
 
 
 
 
 
  1. มีความรู้ความเข้าใจคณิตศาสตร์พื้นฐาน
2. มีทักษะการคิดคำนวณ
3. มีความสามารถในการจำแนก
4. มีความสามารถในการจัดกลุ่ม
5. มีความสามรถในการหาความสัมพันธ์
6. มีความสามารถสร้างข้อสรุปที่มีเหตุผล 1. มีความรู้ความเข้าใจคณิตศาสตร์พื้นฐาน
2. มีทักษะการคิดคำนวณ
3. มีความสามารถในการจำแนก
4. มีความสามารถในการจัดกลุ่ม
5. มีความสามรถในการหาความสัมพันธ์
6. มีความสามารถสร้างข้อสรุปที่มีเหตุผล 1. มีความรู้ความเข้าใจคณิตศาสตร์พื้นฐาน
2. มีทักษะการคิดคำนวณ
3. มีความสามารถในการจำแนก
4. มีความสามารถในการจัดกลุ่ม
5. มีความสามรถในการหาความสัมพันธ์
6. มีความสามารถสร้างข้อสรุปที่มีเหตุผล  
สมรรถภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ชั้น ป.1-2 จุดประสงค์การเรียนรู้ชั้น ป.3-4 จุดประสงค์การเรียนรู้ชั้น ป.5-6 4. การแก้โจทย์ปัญหา
 
 
 
 
 
 
 
5. เจตคติต่อ
 
 
 
 
6. การนำคณิตศาสตร์ไปใช้ในวิชาอื่น 7. มีความสามารถในการนำเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันมาตั้งเป็นโจทย์คณิตศาสตร์
8. มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
9. มีความตั้งใจเรียนคณิตศาสตร์10. มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนคณิตศาสตร์
11. มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจและทักษะทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน 7. มีความสามารถในการนำเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันมาตั้งเป็นโจทย์คณิตศาสตร์
8. มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
9. มีความตั้งใจเรียนคณิตศาสตร์10. มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนคณิตศาสตร์
11. มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจและทักษะทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน 7. มีความสามารถในการนำเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันมาตั้งเป็นโจทย์คณิตศาสตร์
8. มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
9. มีความตั้งใจเรียนคณิตศาสตร์10. มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนคณิตศาสตร์
11. มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจและทักษะทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน สมรรถภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ชั้น ป.1-2 จุดประสงค์การเรียนรู้ชั้น ป.3-4 จุดประสงค์การเรียนรู้ชั้น ป.5-6   12. มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน 12. มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจและทักษะทางคณิตศาสตร์กับวิชาอื่น 12. ประยุกต์ความคิดและรูปแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้าใจและแก้ปัญหาในวิชาอื่น
13. มีทักษะการปฏิบัติกิจกรรมทางคณิตศาสตร์  
            พิจารณาสมรรถภาพ  และกรอบจุดประสงค์การเรียนที่นำเสนอไว้  จะเห็นว่ากิจกรรมการเรียนรู้ในแปลงผักจะเอื้อต่อการนำนักเรียนได้เรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้  เช่น
            จุดประสงค์ข้อ 7  มีความสามารถในการนำเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันมาตั้งเป็นโจทย์คณิตศาสตร์  และจุดประสงค์ข้อ 8  มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
            ผมเชื่อว่า  ถ้านักเรียนนำเหตุการณ์ในแปลงผักดังที่ยกตัวอย่างข้างต้น  มาตั้งเป็นโจทย์ปัญหาได้  นักเรียนก็ต้องสามารถแก้โจทย์ปัญหาที่ตนเองวางไว้ได้เช่นกัน  เมื่อพฤติกรรมหนึ่งปรากฏ  ย่อมส่งผลเชื่อมโยงให้ปรากฏพฤติกรรมอื่นได้  เช่น
            มีความมั่นในในการใช้คณิตศาสตร์อย่างมีความหมาย  เมื่อมั่นใจตนเองแล้ว  ทำอะไร  ในจุดประสงค์อื่นก็ย่อมได้เช่นกัน
            ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น  ผมจึงใคร่เชิญชวนเพื่อนครูลองยกห้องเรียนคณิตศาสตร์ลงไปอยู่ในแปลงเกษตรโรงเรียนดู  เผื่อจะมีข้อเขียนดีๆ  มาเล่าสู่กันฟังได้มากกว่าผมครับ

บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช
            2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) พิมพ์ครั้งที่ 2.
            กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา. 2535.
            . คู่มือประเมินผลการเรียน  ตามหลักสูตร
ประถมศึกษา  พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2533) กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา 2534
 
จากวารสารวิทยบริการ 
ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มค - เมย 2542

by Suppakrit on Aug 21, 2012

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ป้ายคำค้น
No tags found

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน
No related posts found
โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง