นำทางบันทึก : ผู้ได้รับผลกระทบจาก covid- 19 ที่ถูกลืม
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
นศ.และเด็กจบใหม่ด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม ผู้ได้รับผลกระทบจาก covid-19 ที่ถูกลืม

"สู้ๆ ถ้าหางานไม่ได้ ก็ต้องหาอะไรทำให้ได้"

จิดาภา เกียรติศิริ (หรือ "พริ้น") เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการโรงแรม วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร มักจะบอกตัวเองอย่างนี้เพราะรู้สึกได้ว่าเส้นทางอาชีพดูไม่แน่นอนไปหมด

นักศึกษาวัย 22 ปี ที่ได้ให้กำลังใจตัวเองมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ตอนปี 3 ซึ่งก็จะเป็นปีที่นักศึกษาด้านการโรงแรมหลายๆคนตั้งตารอคอยเพราะจะมีโอกาสได้ไปฝึกงานที่โรงแรมในต่างประเทศเป็นเวลานานถึง 4-5 เดือน แต่เพราะมีการระบาดของ covid-19 ทำให้การฝึกงานต้องถูกยกเลิกไป บางส่วนเป็นเพราะถูกปฏิเสธจากโรงแรม/รีสอร์ทที่ต่างประเทศเพราะได้รับผลกระทบจากโรคระบาด(covid-19) บางคนก็ถูกห้ามโดยครอบครัวว่าให้งดการเดินทางเพราะสถานการณ์ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่

ธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างมากจากการระบาดของ covid-19 การระบาดรอบใหม่ๆ ทำให้แผนการเปิดประเทศถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด ในขณะที่ภาครัฐบังคับใช้มาตรการห้ามทำกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่องนั้นทำให้สถานประกอบการหลายๆแห่งต้องทำการปิดชั่วคราวหรือไม่ก็ปิดกิจการถาวร...

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ได้มีการระบุว่าในปี 2560 รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมีมูลค่าคิดเป็น 18.25% ของจีดีพี และติดเป็นอันดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากที่สุดในโลก

แต่ไทยอาจจะไม่ได้เห็นตัวเลขนั้นไปอีกสักพักเพราะการระบาดของ covid-19 ไทยต้องหันมาพึ่งพิงการท่องเที่ยวในประเทศแทนซึ่งก็ยังไม่สามารถทดแทนรายได้ที่หายไปจากนักท่องเที่ยวได้

สิ่งที่ได้เกิดขึ้นไม่ได้เพียงแค่กระทบต่อผู้ประกอบการแรงงานในภาคท่องเที่ยว แต่ก็ยังกระทบกับเหล่านักศึกษาด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่อยากจะประกอบอาชีพในธุรกิจท่องเที่ยวด้วยหล่ะ

ณ ตอนนี้ก็มีมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนไม่ต่ำกว่า 30 แห่งที่มีการเปิดสอนสาขาวิชานี้เพื่อรองรับความนิยมที่มีมากขึ้น และความต้องการของประชากรที่มีเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ทำรายได้มากมายมหาศาลให้ประเทศมาอย่างต่อเนื่อง

บีบีซีไทยได้มีการชวนฟังเสียง"เด็กท่องเที่ยวและการโรงแรม"ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดมีทั้งเรื่องการเรียน, การฝึกงานและอนาคตในการทำงาน และยังรวมถึงวิธีการปรับตัวของอาจารย์ผู้สอนเพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงของภาคการท่องเที่ยวในประเทศอีกด้วย!

ผศ.ดร. สุดาวดี จันทร์ภิวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติ ม.ศิลปากร และอาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการโรงแรม คาดเอาไว้ว่าความนิยมในการที่จะเข้าศึกษาต่อในสาขาท่องเที่ยวและการโรงแรมในปีการศึกษานี้ก็ยังคงยังไม่แตกต่างจากปีก่อนมากสักเท่าไหร่ แต่ก็ยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างก็คืออาจารย์และผู้บริหารหลักสูตรจะต้องปรับการสอนยังไงในสถานการณ์ที่ย่ำแย่แบบนี้

"ภาคทฤษฎีเราปรับเป็นออนไลน์ได้ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ภาคฏิบัติ จะปูเตียง จะฝึกให้นักศึกษาเสิร์ฟออนไลน์ มันไม่ได้" ผศ.ดร.สุดาวดีพูดไว้กับบีบีซีไทย

ผศ.ดร. สุดาวดีได้อธิบายเอาไว้ว่าสาขาวิชาการจัดการโรงแรมของ ม.ศิลปากร นั้นเป็นหลักสูตรสองปริญญาที่ร่วมมือกับสถาบันวาแตล(Vatel Hotel and Tourism Business School)ของประเทศฝรั่งเศส ทำให้ในทุกปีการศึกษานักศึกษาจะได้มีโอกาสออกไปฝึกงาน และในปีที่ 3 นักศึกษาจะได้เดินทางไปฝึกงานที่ประเทศฝรั่งเศสหรือประเทศอื่นๆอีกด้วย แต่เป็นเพราะมีโรคระบาดทำให้ทางคณะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้นักศึกษาได้เดินทางไปฝึกงานในต่างประเทศได้

แต่ถึงแม้จะพยายามสักแค่ไหนแต่เป็นเพราะสถานการณ์การระบาดที่มีมามากว่า 1 ปีแล้วนักศึกษาบางส่วนเลยไม่สามารถไปฝึกงานตามแผนได้

"เราให้ความสำคัญ อยากให้เขาได้ฝึกงานต่างประเทศจริง ๆ สักครั้งหนึ่ง" รองคณบดี วิทยาลัยนานาชาติ ม.ศิลปากรได้กล่าวเอาไว้

ผศ.ดร.สุดาวดีได้ให้กำลังใจนักศึกษา และบัณฑิตจบใหม่ที่กำลังพยายามหางานทำ ความรู้ที่ได้เรียนมาจะสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้เสมอแหละ

"เราบอกเสมอว่าหลักสูตรของเราไม่จำเป็นว่าจบมาแล้วต้องทำงานการโรงแรมอย่างเดียว คุณสามารถประยุกต์ไปทำอย่างอื่น เป็นผู้ประกอบการ เปลี่ยนบ้านให้เป็นโรงแรม ทำอะไรได้หลายอย่าง"

"ธรรมชาติของนักศึกษาที่เรียนหลักสูตรนี้ ไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม เชื่อว่ามีลักษณะเหมือนกัน เพราะหลักสูตรนี้ฝึกให้เขาอดทด ฝึกให้มีความถึก ปรับตัวได้เก่ง…จบไปใหม่ ๆ อาจไม่ได้งานที่ตรงกับความคาดหวัง ก็อยากให้กำลังใจ แต่มั่นใจว่าสิ่งที่ฝึกฝนมา 4 ปี เขาจะสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ ผ่านวิกฤตได้ไม่ยาก"

ในขณะที่ อ.กมลธรณ์ พรหมพิทักษ์ อาจารย์ประจำสาขาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้บอกเอาไว้ว่าภาควิชาก็ต้องปรับตัวและพยายามอย่างหนักเหมือนๆกันเพื่อให้นักศึกษาได้รับประโยชน์ให้ได้มากที่สุดในสถานการณ์ที่ยากลำบากแบบนี้!

อ.กมลธรณ์บอกว่าทางสาขาวิชาได้มีการปรับการเรียนการสอนมาเป็นแบบออนไลน์จึงทำให้ภาคทฤษฎีไปได้ค่อนข้างที่จะราบรื่น แต่ก็ต้องยอมรับว่าการฝึกภาคปฏิบัติได้รับผลกระทบอย่างมากเพราะความไม่พร้อมของสถานที่ฝึกงาน...บางส่วนเลยต้องหันมาฝึกอบรมออนไลน์แทนไปก่อน

และด้วยความที่เป็นคณะด้านการท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในเมืองท่องเที่ยว อ.กมลธรณ์ก็ได้มีการเล่าถึงบรรยากาศการเรียนช่วงก่อนโควิดระบาดว่าบางทีในบางวิชาก็มีการบ้านให้นักศึกษาได้มีการเก็บข้อมูลกับนักท่องเที่ยวโดยตรงแบบนี้ด้วยหล่ะนะ

"สมัยก่อนมันคึกคักมาก นักศึกษาไปทำแบบสำรวจนักท่องเที่ยวในตัวเมืองกลับมารายงาน เขาเจอนักท่องเที่ยวได้ตลอดเวลา"

ไม่ว่ายังไงก็ตาม อ.กมลธรณ์ก็ยังคงย้ำว่าหลักสูตรการเรียนด้านการท่องเที่ยวไม่ได้มีไว้เพื่อสอนให้นักศึกษาประกอบอาชีพไกด์เพียงอย่างเดีวเท่านั้น แต่ก็ยังมีการสอนในวิชาพื้นฐานทางธุรกิจด้วย! ตั้งแต่การบริหาร, การจัดการ, การตลาด ที่นักศึกษาสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้ทุกอัน!

"นักเรียนหลายคนมองว่าเรียนท่องเที่ยวไปเป็นไกด์ แต่จริง ๆ เมื่อมาเรียนเราไม่ได้สอนให้เป็นไก ด์อย่างเดียว เป็นได้ ไกด์เป็นอาชีพที่ดีและยาก แต่เมื่อมาเรียนเราก็เรียนอย่างอื่นที่ไปปรับใช้อย่างอื่นได้ เราสอนให้มีใจรักงานบริการ (service mind) เรียนจบท่องเที่ยวแต่ก็ไปทำธุรกิจวัสดุก่อสร้างของครอบครัวได้"

นั่นเลยเป็นเหตุหลักๆที่อ.กมลธรณ์เห็นว่า สาขาวิชาด้านการท่องเที่ยวยังคงสามารตอบโจทย์การทำงานในอนาคตที่ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมเค่นั้น อีกอย่างนึงก็คือไม่ว่าว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยทำให้การท่องเที่ยวสะดวกขึ้นแต่ยังไงๆผู้บริโภคก็จะต้องคาดหวังปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในระหว่างการท่องเที่ยวอยู่แล้ว

"การท่องเที่ยวเปลี่ยนเร็ว บางครั้งเทอมนี้อาจารย์ใช้ตำราสอนอันนี้ เทอมถัดไปต้องเปลี่ยนละ แต่สิ่งหนึ่งที่จะไม่เปลี่ยนเลยคือ ถึงยังไงคนก็ยังอยากเดินทาง ยิ่งถ้าหมดโควิด พฤติกรรมการเที่ยวอาจเปลี่ยนไป การต้อนรับนักท่องเที่ยวอาจเปลี่ยนไปตามยุคสมัย" อ.กมลธรณ์ได้กล่าวเอาไว้


by Numthang on May 09, 2021

Posted in ร่องรอยการเรียนรู้

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง