เริ่มต้นทำ homeschool #2 ความเชื่อกับแนวทางการศึกษา
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

เมื่อคิดว่าจะทำ Homeschool จะเริ่มอย่างไรดี

จริงๆ จะไปโรงเรียนหรือจะบ้านเรียน ตอนเริ่มต้นนี่ก็ยากพอกัน

ถ้าไปโรงเรียน ทั่วๆ ไปก็คงไปดูโรงเรียน หรือไปงาน openhouse ของเค้า ดูแนวทางดูอะไรไป ซึ่งก็ต้องเลือกเหมือนกัน จะเป็นโรงเรียนรัฐบาลหรือเอกชน งบประมาณเท่าไร ไทยหรืออินเตอร์ ห้องกิฟต์หรือห้องธรรมดา วิถีพุทธ คริสต์ อิสลาม สองภาษาสามภาษา หรือมีออปชั่นพิเศษอะไรบ้าง

เริ่มต้นทำ homeschool #2

เมื่อคิดว่าจะทำ Homeschool จะเริ่มอย่างไรดี

จริงๆ จะไปโรงเรียนหรือจะบ้านเรียน ตอนเริ่มต้นนี่ก็ยากพอกัน

ถ้าไปโรงเรียน ทั่วๆ ไปก็คงไปดูโรงเรียน หรือไปงาน openhouse ของเค้า ดูแนวทางดูอะไรไป ซึ่งก็ต้องเลือกเหมือนกัน จะเป็นโรงเรียนรัฐบาลหรือเอกชน งบประมาณเท่าไร ไทยหรืออินเตอร์ ห้องกิฟต์หรือห้องธรรมดา วิถีพุทธ คริสต์ อิสลาม สองภาษาสามภาษา หรือมีออปชั่นพิเศษอะไรบ้าง

ดังนั้นทำบ้านเรียนก็เหมือนกัน อยู่ที่แนวทางของครอบครัวแล้วว่าจะนิยมแบบไหนหรือมีความเชื่อแบบไหน ซึ่งจุดเริ่มต้นก็คงต้องตั้งต้นจากตรงนั้นว่าครอบครัวมีความเชื่อแบบไหน

พอเป็นเรื่องของความเชื่อ (ความเชื่อนะครับ) ก็แปลว่าแตกต่างกันแบบร้อยแปดพันเก้าคนละขั้วได้เลย และย่อมไม่ผิด ตราบใดที่ไม่ได้ผิดกฎหมาย ไม่ได้เป็นการทารุณกรรมเด็กหรือปล่อยให้เด็กไม่ได้รับการศึกษาตามสมควรแก่วัย ซึ่งถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นแนวทางที่กว้างมากอยู่ดี

สิ่งหนึ่งที่ทำได้ และแนะนำให้ทำคือศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการและจิตวิทยาเด็กก่อนครับ รวมถึงทำความเข้าใจกับนิสัยใจคอหรือ learning style ของลูก พยายามมองเป็นกลางๆ อย่าเพิ่งเอาความคิดของตนเองเป็นที่ตั้ง อย่าเพิ่งคิดว่าลูกเราด้อย หรือเป็นอัจฉริยะจนเกินเหตุ นอกจากมีคำวินิจฉัยขอหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเช่นกรณีเจ็บป่วย มีโรคประจำตัว หรือมีอาการอื่นๆ ก็นำมาร่วมพิจารณากัน

ถ้าลูกโตหรือเข้าวัยรุ่น สิ่งที่จำเป็นเลยคือการฟังเสียงลูกมากๆๆๆๆๆ อย่าเพิ่งตัดสินไม่ว่าในแง่บวกหรือลบ ว่าลูกฉันขี้เกียจ ไม่อดทน หรือลูกฉันเป็นอัจฉริยะฟ้าประทานมา ต้องรุ่งแน่เลย ...ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกเล็กจะไม่ต้องฟังนะครับ ลูกเล็กก็ต้องฟังมากๆ เหมือนกัน แต่ก็ฟังประกอบกับหลายๆ ปัจจัย หรือฟังจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ จากคำพูด จากการกระทำ จากนิสัย จนกระทั่งเสียงจากร่างกายของเขา เช่นการเจ็บป่วย การร้องไห้ เพราะลูกเล็กยังอาจจะไม่มีศัพท์หรือไม่มีประสบการณ์มากพอที่จะสื่อสารกับเราได้ ...เป็นความหมายของการเห็นเด็กเป็นศูนย์กลาง ที่ไม่ใช่การตามใจเด็ก หรือตามใจพ่อแม่

ได้เสียงลูก รวมกับความเชื่อของพ่อแม่ของครอบครัวแล้ว ค่อยๆ ใช้สิ่งเหล่านี้นำทางครับว่าจะไปอย่างไรต่อ บางคนก็ชอบแนวเข้มหน่อย มีเป้าหมายชัดเจน บางคนก็ชอบแนวธรรมชาติ เลื่อนไหลไปตามเหตุปัจจัย บางคนเน้นการค้นหาแนวทางแกน (บางคนใช้คำว่าค้นพบตนเอง) สักแกนหนึ่ง แล้วยึดแกนนั้นเป็นหลักในการจัดการศึกษา หรือบางคนอาจจะใช้แนวทางศึกษาหรือหลักสูตรจากกระทรวงศึกษา หรือจากประเทศนั้นประเทศนี้ หรือแนวคิดของนักการศึกษาคนโปรดของเรา ก็ค่อยๆ นำมาประกอบเป็นแนวทางหรือหลักสูตรที่จะจัดการศึกษา

และ ความสุข เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเสมอครับ ถ้าการศึกษาคือความทุกข์ คงเข้าข่ายทารุณกรรมเด็กมากกว่าจะเรียกว่าการจัดการศึกษา

ต้นฉบับ https://www.facebook.com/HomeUnschool/posts/2382071271844301