สรุปคลาสเรียนการเงิน
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
ปีนี้พราวลงเรียนการเงิน และคิดว่าจะทำ project เกี่ยวกับการเงินด้วย เลยมานั่งสรุปนิดหน่อยค่ะ!
 
1) สิ่งที่ควรคำนึงถึงเมี่อซื้อของ           
 เวลาเราซื้อของเนี่ย มีปัจจัยอยู่หลักๆอยู่ประมาณ 5 อย่าง (ที่จำได้)   
                                                    
1: รีวิว หรือความคิดเห็นของลูกค้าที่เคยซื้อมาแล้วนั่นเอง       
สมัยนี้ไม่ว่าจะร้านข้าว เสี้อผ้า หรือร้านต่างๆก็น่าจะมีเพจอยู่ค่ะ ในเพจมีคอมเม้นจากลูกค้าคนอื่นที่เคยไปใช้บริการดูแล้ว อาจจะมีดีมั่งไม่ดีมั่ง ทำให้เราสามารถประเมินร้านนั้นได้ค่ะ หรือบางที่ก็จะมีการให้ดาว เช่น ห้าดาว สามดาว ถือว่าเป็นรีวิวเหมือนกันค่ะ หรือการที่เราไปดูรีวิวในยูทูปหรือในโซเชี่ยล ก็เป็นการบอกถึงคุณภาพของร้านค้า / ผลิตภัณท์ นั้นๆได้ค่ะ
                                     
2: ส่วนลดและโปรโมชั่นต่างๆ
เราจะไปกินขนม แล้วมีสองร้านที่ราคาขนม / คุณภาพเท่ากัน จะไปที่ไหนดีคะ
ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจะทำยังไงดี? เราสามารถดูโปรโมชั่นของแต่ละร้านได้ค่ะ! ถ้าร้านไหนมีส่วนลดถูกกว่า เราก็ไปซื้อร้านนั้นได้นะ เป็นการประหยัดเงินไปด้วย
 
3: ราคา
แน่นอนว่าของราคาถูก ก็น่าซื้อมากกว่าของราคาแพงอยู่แล้วใช่มั้ยคะ แต่ไม่ใช่ราคาถูกอย่างเดียว เราต้องดูปัจจัยที่ 4 ด้วยค่ะ
 
4: คุณภาพ
ของราคาถูกแต่มีคุณภาพแย่? งั้นซื้อของราคาแพงแต่คุณภาพดีใช้ได้นานดีกว่าค่ะ การดูคุณภาพของของ ของบางชิ้นอาจจะจับแล้วประเมินคุณภาพได้ หรืออาจจะดูจากรีวิวก็ได้ค่ะ
 
5: การรับรอง
ยกตัวอย่างเช่น มอก. หรือ อย. ค่ะ
 
6: ความน่าเชื่อถือ
ความน่าเชื่อถือ คือประมาณว่าเราเชื่อถือสินค้ายี่ห้อไหนมากเท่าไหร่  อย่างถ้าถามพราวว่าไนกี้ขายอะไร พราวอาจจะตอบว่ารองเท้า หรืออุปกรณ์กีฬา ก็แปลว่าพราวมั่นใจในรองเท้าและอุปกรณ์กีฬาของเค้าค่ะ (เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับคนนะคะ)
(ถ้าเราซื้อของออนไลน์ เครื่องหมาย mall สีแดงบนสินค้าจะเป็นการรับรองและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าได้ระดับนึงค่ะ)
 
เพิ่มอีกนิด แนะนำให้ดูปริมาณสินค้าด้วยค่ะ อย่างเราซื้อผงซักฟอก บางทีอาจจะดูเหมือนเท่ากัน แต่ว่าปริมาณกรัมอาจจะไม่เท่ากันค่ะ ลองเอาแต่ละกรัมมาเทียบกับราคาดู จะทำให้เราได้ซื้อของในราคาที่ถูกขึ้นค่ะ
 
2) ประเภทของการจ่ายเงิน           
สมัยนี้เราสามารถจ่ายเงินได้ทั้งหมดสามแบบค่ะ ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน
 
1: บัตร
บัตรมีอยู่หลักๆสองแบบค่ะ คือบัตรเครดิตกับเดบิต 
บัตรเครดิต: คือบัตรที่เราใช้ซื้อของไปก่อน แล้วค่อยมาจ่ายคืนธนาคารทีหลังค่ะ 
บัตรเดบิต: อันนี้ต้องมีเงินในบัญชีก่อนนะคะ ถึงจะซื้อของได้ 
ข้อเสียคือมีรายจ่ายอื่นๆนอกเหนือจากการผ่อนบัตรไปอีก เช่นดอกเบี้ย ลฯ แต่ว่าถ้าทำหายหรือถูกโขมย อาจจะยากหน่อยแต่สามารถกู้บัตรได้ค่ะ และใช้บัตรบางอันในต่างประเทศได้ด้วย!
 
2:จ่ายผ่านแอป
การจ่ายผ่านแอปก็มีสองแบบนะคะ คือแอปของธนาคาร ( SCB, K+, GSB-pay ) และ e-wallet ( true money, LINE, airpay, bluepay )
อันนี้ก็สามารถใช้ในต่างประเทศได้นะคะ หายก็มีรหัสป้องกันแอปไว้ พกโทรศัพท์เครี่องเดียวก็จ่ายได้หมด แต่ว่าต้องมีโทรศัพท์..
 
3: เงินสด
อันนี้ทุกคนน่าจะรู้ว่าคืออะไร ก็คือแบงค์หรือเหรียญนั่นเองค่ะ ข้อดีของมันคือเราไม่ต้องเสียเงินเพิ่อที่จะได้มัน อย่างบัตร มีค่าธรรมเนียม มีดอกเบี้ย หรือการจ่ายผ่านแอปก็แปลว่าต้องมีโทรศัพท์ คือต้องซื้อโทรศัพท์ก่อนนั่นแหละค่ะ แต่ข้อเสียคือหาย หล่นหายแล้วหายเลยเนอะ เอากลับมาไม่ได้ (เคยทำเงินสดหล่นหายสองพันบาท TT) และใช้ในต่างประเทศไม่ได้ด้วยค่ะ
 
ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายวิธีไหน ก็สามารถโดนโกงเงินได้หมด ขึ้นอยู่กับความรอบคอบของผู้ใช้นะคะ
 
 3) ประเภทของรายจ่ายและการจัดสรรรายจ่ายต่างๆ     
ในเรื่องของรายจ่ายนะคะ จะแบ่งออกเป็นรายจ่ายที่จำเป็นและรายจ่ายที่ไม่จำเป็น รายจ่ายต่างๆก็จะมีอยู่ประมาณนี้ค่ะ
รายจ่ายจำเป็น/need: อาหาร, ของใช้, ค่าเดินทาง
รายจ่ายไม่จำเป็น/want: ถ้าเด็กรุ่นพราวก็จะประมาณ ขนม, เติมตังเกม, ของเล่น ลฯ (ถ้ารุ่นแม่อาจจะการไปช้อปร้านมือสองญี่ปุ่น และการซื้อของใช้ที่ไม่จำเป็นบนเฟสบุ๊ค (?) )
 
และจะมีอีกอย่างก็คือรายจ่ายของสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆนะคะ เช่นค่าของขวัญวันเกิดเพื่อน ค่าตัดผม หรือเข้าโรงพยาบาลค่ะ 
 
สำหรับการจัดสรรรายจ่ายพวกนี้ แนะนำให้วางแผนงบสำหรับใช้จ่ายในแต่ละวันนะคะ เช่นวันนี้ได้มาสี่พัน จะเอาไปใช้กับ need กี่บาท want กี่บาท
และแนะนำให้ออมเงิน 10-30% ของรายรับที่ได้มานะคะ เงินออม ออมไปเพื่อซื้อของที่อยากได้ที่ไม่ได้ซื้อง่ายๆ เช่น นินเทนโด้ กระเป๋าเป้ใหม่, หรือจะเอาไปลงทุน ไปใช้ตอนฉุกเฉินก็ได้หมดค่ะ แต่ว่าค่าเงินลดลงเรื่อยๆ ถ้าเราอยากเก็บเงินนั้นไว้แบบไม่ให้มันลดลง (และไม่ใช้มันด้วย เก็บแบบไม่มีเป้าหมาย) ก็ควรจะเพิ่มเงินที่ออมประมาณปีละ 1 บาทค่ะ ;-;
 
และการออมเงินที่ดีควรต้องมีเงินเหลือพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่สำคัญ เช่น ถ้าออม 30% แต่มีเงินใช้ในเรื่องจำเป็นไม่พอ ก็ควรลดมาเป็น 15-20% แทนค่ะ
 
4) เงินสี่ด้าน
อันนี้เป็นเรื่องประเภทรายรับของแต่ละอาชีพค่ะ มีอยู่สี่ประเภทได้แก่:
                 
1: E (employee)
ทำงานแค่ไหนได้เงินเท่าเดิม 
aka. พนักงานดับเพลิง พนักงานเซเว่น พนักงานร้านอาหาร
 
2: S (self-employed)
ทำเท่าไหนได้เงินเท่านั้น ทำมากได้มากทำน้อยได้น้อย
aka. ศิลปิน เจ้าของธุรกิจส่วนตัวเช่นร้านกาแฟเล็กๆ
 
3: B (business owner)
เป็นเจ้าของระบบและคนงาน
aka. เจ้าของร้านอาหาร เจ้าของห้าง 
 
4: I (investor)
นักลงทุน ให้เงินทำงานต่อยอดให้เรา
aka. หุ้น อสังหาริมทรัพย์
 
ทั้งสี่ประเภทนี้จะแบ่งเป็นสองกลุ่มอีกทีนะคะ คือ
Active income (E-S): หยุดทำไม่มีรายได้
Passive income (B-I): หยุดทำมีรายได้
---------------------------------------------------------------