ลูกผู้ชายบ้านเรียน การขึ้นทะเบียนทหารและการเกณฑ์ทหาร (และรด.)
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
สำหรับชายไทยแล้ว มีหน้าที่ต้องรับใช้ชาติด้วยร่างกายที่สมบูรณ์อันมีพละกำลังตามช่วงอายุที่เหมาะสมด้วยการเข้ารับราชการทหาร ..เรื่องนี้สำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าหลายคนจะมองว่า "รับใช้ชาติด้วยวิธีอื่นก็น่าจะได้" นั้นเป็นได้เพียงความคิดครับ. เพราะไม่มีทหารประเทศไหนในโลกเลยที่แก่หง่อม ถือปืนแทบไม่ไหวอย่างนั้น จะปกป้องประเทศได้ดีเท่าทหารในวัยหนุ่มอย่างแน่นอน. การเป็นทหารนั้นโดยหลักแล้วที่ต้องเกณฑ์เพราะต้องการร่างกายของคุณ ..ไม่ใช่สมองหรือทักษะด้านอื่นที่เอาไปแบกปืนหรือสู้รบไม่ได้ ..จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจใ้ห้ดี ๆ. ส่วนการยกเว้นการเกณฑ์ทหารด้วยการเรียนรด.นั้น มองตามจริงคือการเข้าฝึกแบบทหารก่อนอายุเหมาะสม ไม่ต่างกับการเกณฑ์ทหารด้วยการสมัคร เพียงแต่สามารถใช้ชีวิตด้านอื่นไปได้ในขณะที่ฝึกรด.เป็นเวลา 3 ปีเท่านั้นเองครับ. ขอให้เลือกตามความเหมาะสมของร่างกายและสถานการณ์เฉพาะแต่ละคนจะดีกว่า ข้อมูลทั้งหมดนำมาและเรียบเรียงจากเว็บไซต์ของหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน http://www.tdd.mi.th/
และเว็บไซต์ของกระทรวงกลาโหม http://www.mod.go.th/misc/officer1.htm
ซึ่งเน้นข้อความ-จัดหน้าเพิ่มเติมเพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้นครับ พร้อมทั้งข้อสังเกตจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียน


การลงบัญชีทหารกองเกิน (หรือที่มักเรียกกันอยู่โดยทั่วไปว่า "การขึ้นทะเบียนทหาร")

- บุคคลที่มีสัญชาติไทยเมื่อ อายุ 17 ปี บริบูรณ์ ย่างเข้า 18 ปี ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน ตามภูมิลำเนาของบิดา
- ถ้าบิดาถึงแก่กรรม ให้ลงบัญชีทหารกองเกินตามภูมิลำเนาของมารดา
- ถ้าบิดา มารดา ถึงแก่กรรมให้ลงบัญชีทหารกองเกินตามภูมิลำเนาของผู้ปกครอง (ผู้อุปการะโดยเอกสารทางกฎหมาย)
- และเมื่อลงบัญชีทหารกองเกินเสร็จแล้วจะได้รับใบสำคัญ (แบบ สด.9)

โดยนำหลักฐานไปลงบัญชีทหาร ดังนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชน

2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

3. สูติบัตร (ถ้ามี)

* อายุ 17 ปี บริบูรณ์ หมายถึงครบ 17 ปีเต็มแล้วและเข้าสู่ปีพ.ศ.ที่ขึ้นอายุ 18. จากประสบการณ์พบว่านายทะเบียนหรือสัสดีทหารมักนับตามปีพ.ศ.เมื่อขึ้นเดือนมกราคมของปีนั้น ๆ (ไม่ใช่ชนวันและเดือนเกิดอย่างที่หลายคนเข้าใจ แม้กระทั่งเจ้าหน้าีที่แผนกงานอื่น ๆ ในสำนักงานเขตหรือที่ทำการอำเภอเองก็ยังมองไม่ตรงกันครับ) ..และพบว่าบางท้องที่มีการยึดเอาปีที่เข้าอายุ 17 แทนที่จะเป็นปีที่ขึ้นอายุ 18. ซึ่งต่างกับกรณีเกณฑ์ทหารที่ว่ากันปีที่ขึ้นอายุ 21 เลย ..การขึ้นทะเบียนทหารนี้จึงต้องควรลองติดต่อดูตั้งแต่ปีที่เข้าอายุ 17 ครั้งหนึ่งก่อนครับ เรื่องนี้ยังมีความคลาดเคลื่อนทางวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในแต่ละท้องที่อยู่ครับ.

- ผู้ปกครองสามารถนำหลักฐานไปยื่นแทนได้
- กรณีบุคคลมีอายุเลยจากที่ระเบียบกำหนดแล้วและยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนทหาร ต้องไปติดต่อด้วยตัวเองเท่านั้น. จนถึงช่วงอายุ 46 ปีบริบูรณ์

----------------------------------------------------------------------------

การรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (หมายเรียก/หมายเกณฑ์นะครับ ตรงนี้สด.35 ..ส่วนที่รับเมื่อผ่านพิธีการวันตรวจเลือกช่องเดือนเมษายนของปีนั้น คือ สด.43)

- บุคคลที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้แล้ว (มีใบสด.9 แล้ว) เมื่อ อายุ 20 ปีบริบูรณ์ ย่างเข้า 21 ปี ต้องไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35) ภายในปี พ.ศ. นั้น ๆ (ที่ขึ้นอายุ 21)
- กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปรับหมายเรียกแทน จะต้องมีหนังสือรับมอบอำนาจ และนำหลักฐานไปยื่นต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ดังนี้

1. ใบสำคัญ (สด.9)

2. บัตรประจำตัวประชาชน

----------------------------------------------------------------------------

by วีณาฑัต on Dec 24, 2012

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ป้ายคำค้น
No tags found

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน
No related posts found
โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง