2.2 สังคมเชิงประวัติศาสตร์
ในปีนี้ครอบครัวได้พาซีอ้อนไปพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้หลายแห่งเพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมช่วงอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยในแต่ละที่จะมีจุดเชื่อมโยงกับเรื่องรามเกียรติ์ในหลายรูปแบบ เช่น ประวัติศาสตร์การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ที่อิงคติความเชื่อเรื่องอวตารของพระราม การก่อสร้างพระบรมมหาราชวังตามคติจักรวาลวิทยาแบบอินเดีย อิทธิพลของรามเกียรติ์ที่มีผลต่องานศิลป์ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถิชีวิตของคนในสมัยนั้น เป็นต้น ซึ่งซีอ้อนสามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากการเยี่ยมชมเข้ากับความรู้เรื่องรามเกียรติ์ที่ศึกษามาแล้วได้ในระดับหนึ่ง
- นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ 24 พฤษภาคม 2565
ซีอ้อนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ลำดับช่วงเวลาและเหตุการณ์สำคัญ โดยในอาคารแบ่งเป็นโซนการเรียนรู้ต่างๆ ดังนี้
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร 24 เมษายน 2565 และ 21 ธันวาคม 2565
เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยผ่านข้อมูลและการจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตัวอย่างเช่น งานพุทธศิลป์ในยุคต่างๆ ที่สะท้อนการรับวัฒนธรรมจากอินเดีย การจัดแสดงผ้าและเครื่องแต่งกายในราชสำนักสยาม ชมราชรถ ราชยาน พระเมรุมาศและเครื่องประกอบที่ใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นต้น
ในช่วงวันที่ 24 เมษายน 2565 นอกจากจะได้เรียนรู้ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแล้ว ซีอ้อนยังได้ร่วมกิจกรรมเพิ่มเติมจากงาน “ใต้ร่มพระบารมี ๒๔๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์” ที่จัดขึ้นในบริเวณเดียวกัน ได้รู้จักและเห็นวิธีการทำอาหารโบราณที่ปรากฏในวรรณคดี ชมการแสดงโขนจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การบรรเลงดนตรีคลาสสิคจากกรมดุริยางค์ทหารเรือ และที่สำคัญคือการได้เรียนรู้พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีผ่านการรับชมการแสดงแสงสีเสียง 10 รัชกาล
by กีรติยุต on Feb 27, 2023
Posted in ร่องรอยการเรียนรู้