สรุป เนื้อหาในห้อง การปรับใช้หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรดึงพลังชุมชนหนุนพลังเด็ก วันแรก 2 เม.ย. 58 ตอน 1/2 (วันแรก 2 เม.ย.)
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
*** ดูรายละเอียดการประชุม download เอกสารต่าง ๆ ได้จาก http://all4eduthaimove.weebly.com/  ***

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประชุมช่วงนี้ คลิกที่นี่ 
สรุป เนื้อหาในห้อง การปรับใช้หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรดึงพลังชุมชนหนุนพลังเด็ก ตอน 1/2 (วันแรก 2 เม.ย.)
 
ช่วงแรก เกี่ยวกับบทบาทของ กสม. , กรรมการสิทธิ
 
กรรมการสิทธิ ฯ เล่าถึงเคสต่าง ๆ
 
1. เด็กบ้านเรียนไม่สามารถสมัครสอบเข้าโรงเรียนที่ตั้งมาตรฐานสูงและเอื้อให้เฉพาะเด็กในระบบ ทางกสม.ปสุดท้ายศาลให้เพิกถอน ระเบียบที่กีดกันเด็กที่จบจากการศึกษาทางเลือก (แม้สุดท้ายจะเด็กจะสอบไม่ผ่าน) 
 
2. สพฐ. รับเรื่องอนุมัติศูนย์การเรียนล้าช้า กสม. ฟ้องศาลไม่รับเพราะ กสม.ไม่มีอำนาจ สุดท้ายทางศูนย์การเรียนรู้ฟ้องเอง ระหว่างไต่สวนอาจจะด้วยแรงกดดัน สพฐ. จึงรับในกระบวนการว่าอนุมัติให้ และอนุมัติหลังจากนั้นไม่นาน อย่างไรก็ตามคดีนี้ยังไม่จบ 
 
เปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมเล่าประสบการณ์ 
 
เรื่องเล่าการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ของชาวปากากะยอ ที่แม่ฮ่องสอน ฝ่ายส่งเสริมถามว่าโรงเรียนห่างไป 6 กม. ทำไมไม่เข้าไปเรียน คือ 6 กม. บนดอยนี่ไม่ใช่น้อย สุดท้ายจดจัดตั้งได้ โดยมีเด็ก 6 คน พอตั้งได้เสร็จ เขตมีหนังสือถึงผู้ปกครอง ว่าถ้าไม่เอาลูกเข้าโรงเรียนมีโทษปรับ จนผู้ปกครอง ไม่มั่นใจคิดเอาลูกออก 
 
*******************
 
ผู้ปกครองเล่าถึงการเปิดให้จัดหลักสูตรแบบกลุ่มประสบการณ์ แต่พอถึงเวลาจบ สพฐ. ขอให้ออกใบ ปพ. เป็นแบบ กลุ่มสาระ ผู้ปกครองยืนยันให้ สพฐ. ออกใบปพ. ที่เป็นกลุ่มประสบการณ์ และยืนยันว่า สพฐ. ต้องทำงาน ทำความเข้าใจกับมหาลัยหรือหน่วยงานอื่น ๆ ในเรื่องการใช้ใบ ปพ. แบบกลุ่มประสบการณ์ 
 
เมื่อไปสมัคร pre degree รามคำแหง ทาง ม.รามก็ช่วยหาทาออกให้โดยให้หนังสือรับรองแทน แต่หนังสือรับรองมีอายุ 3 เดือน พอหมด 3 เดือน ก็ต้องหาทางอื่นสุดท้ายใช้หนังสือชี้แจ้งแทนว่าจะรับรองในอนาคต??? (ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าจดถูกหรือเปล่า) เรื่องก็คาอยู่แบบนี้ 
 
********************
 
พระสงฆ์ ดำเนินงานโรงเรียนในระบบ แต่อยากทำนอกระบบ เลยมาเข้าร่วมด้วย 
 
******************
 
เรื่องเล่าจากบ้านเรียนที่ เริ่มจดได้ 2 เดือน ทางเขตบอกมาเยี่ยมบ้าน ทางบ้านบอกไม่พร้อมสำหรับการประเมิน เพราะผู้จัดไม่อยู่ และเพิ่งเริ่มจัด สถานที่อะไรต่าง ๆ ยังไม่ลงตัว จนท. ยืนยันว่ามาเยี่ยมบ้านเฉย ๆ แต่มาจริง ๆ เมื่อกลับไปกลายเป็นว่า มาตรวจสถานที่ และไม่อนุมัติและขอให้ปรับปรุงสถานที่ ซึ่งเป็นการแจ้งก่อนช่วงอนุมัติเงินอุดหนุน 
 
ที่สำคัญตอนมาเยี่ยมพูดจาดียิ้มแย้ม จนเด็ก 12 ขวบงงมาก ถามแม่ว่า มันหมายความว่าไงว่าตอนมาชื่นชมเรา พูดจาดี ยิ้มแย้ม แต่กลับไปส่งจดหมายมาเหมือนตำหนิ ต่อว่าเค้า 
 
เลยลาออก ไปเรียน กศน. และทำให้พบว่าเด็กกศน. ถูกปฎิบัติแบบถูกเลือกปฎิบัติ ถูกครูกระทำไม่ดี ตอนนี้เลยคิดจะมาตั้งศูนย์การเรียนรู้ เพื่อรองรับ เด็กที่ถูก กศน. เลือกปฎิบัติด้วย 
 
ผู้เข้าร่วมท่านอื่นยืนยันว่า ถ้ามีเหตุการไม่ปรกติต้องทำหนังสือแย้ง เพราะเกิดวันนั้น ลูกไม่พร้อมทำไม่ได้ จทน. ใช้กระบวนการไม่เหมาะสม จะเป็นผลเสียต่อเด็ก 
 
--------
 
ช่วงที่ 2 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 
วิทยากรเอากฎหมายที่เกี่ยวข้องมาอธิบายให้ฟัง 
 
เล่าถึง มาตรฐา 3 (ไม่แน่ใจ พรบ อะไร ผมยังไม่สะดวกค้น ) ว่าเป็นมาตราที่รองรับการเปิดบ้านเรียน หรือจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ 
 
และเล่าว่า ภายในมกราคมนี้ สพฐ. จะต้องทำคู่มือสำปรับประชาชนให้เสร็จ เป็นคู่มือที่ต้องบอกถึง ขั้นตอน ระยะเวลาต่างอย่างชัดเจน 
 
มาตรา 7 ใน พรบ อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาติของทางราชการ บีบให้ หน่วยงานราชการต้อง ทำขั้นตอนและระบบให้ชัดเจน