เริ่มต้นทำ homeschool #8 บ้านเรียนประถม
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

การจดทะเบียนบ้านเรียนประถมศึกษามีได้หลายรูปแบบครับ

1. ไปจดทะเบียนที่สำนักงานเขตการประถมศึกษาใกล้บ้าน ถ้าในกรุงเทพฯ ก็ถ.ศรีอยุธยา ถ้าต่างจังหวัดก็มักจะอยู่ที่ศูนย์ราชการหรือโรงเรียนประจำจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่ดูแลจะเป็นฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ไปปรึกษาหรือขอเอกสารก่อนล่วงหน้าได้ครับ ไม่มีค่าใช้จ่าย

เริ่มต้นทำ homeschool #8

homeschool ระดับประถม

การจดทะเบียนบ้านเรียนประถมศึกษามีได้หลายรูปแบบครับ

1. ไปจดทะเบียนที่สำนักงานเขตการประถมศึกษาใกล้บ้าน ถ้าในกรุงเทพฯ ก็ถ.ศรีอยุธยา ถ้าต่างจังหวัดก็มักจะอยู่ที่ศูนย์ราชการหรือโรงเรียนประจำจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่ดูแลจะเป็นฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ไปปรึกษาหรือขอเอกสารก่อนล่วงหน้าได้ครับ ไม่มีค่าใช้จ่าย

2. จดทะเบียนกับโรงเรียนที่มีโครงการบ้านเรียน ที่นิยมกันเช่น รร.หมู่บ้านเด็ก กาญจนบุรี รร.รุ่งอรุณ กรุงเทพฯ หรือรร.อื่นๆ ในแต่ละพื้นที่ ต้องถามๆ กันในกลุ่ม ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้มีระเบียบมีกติกาครับ ควรไปคุยกับเจ้าหน้าที่เขาก่อน หรือรอจังหวะที่เขามีสัมมนาหรือ open house ให้ไปคุย มีค่าใช้จ่ายตามแต่นโยบายของโรงเรียนนั้นๆ

3. จดทะเบียนกับศูนย์การเรียน...จำคำนี้ให้แม่นครับ ศูนย์การเรียน ไม่ใช่ศูนย์การเรียนรู้ ไม่ใช่ศูนย์เรียนรู้ เพราะถ้าไปผิดที่จะคนละเรื่องกันเลยแล้วเค้าจะไม่รู้ว่าเรากำลังพูดอะไร ศูนย์การเรียน เป็นสถานศึกษาตามกฎหมายที่สามารถจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาพื้นฐานครับ "ศูนย์การเรียน" หาจากคำนี้ ปัจจุบันมีหลายสิบแห่งทั่วประเทศ ระบบจะคล้ายๆ โรงเรียนขนาดเล็ก หลายแห่งจะมีโครงการบ้านเรียน คือไม่ต้องไปเรียนทีศูนย์ แต่ไปจดทะเบียนกับโรงเรียนแล้วกลับไปเรียนที่บ้านได้ หลักการก็คล้ายๆ กับโรงเรียนที่มีโครงการ คือไปคุยกับเขา ไปสัมมนาหรือไปงาน open house แล้วก็ศึกษากฎกติกาหรือนโยบายแนวคิด ซึ่งแต่ละแห่งมีไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายก็ขึ้นกับแต่ละศูนย์

4. กศน. ชื่อเต็มคือสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีหลายศูนย์ทุกจังหวัด จุดประสงค์เดิมเขาเอาไว้สำหรับผู้ใหญ่หรือผู้ที่ออกจากระบบการศึกษาไปแล้วกลับมาเรียน ปกติรับตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป แต่เด็กๆ ก็ไปเรียนได้ครับ ไปขอใบส่งตัวจากสำนักงานเขตการประถมศึกษาที่พูดถึงไปแล้ว ไปบอกเค้าว่าจะพาลูกไปเรียนกศน.เพราะไม่ประสงค์จะเข้าโรงเรียนด้วยเหตุผลอะไรก็ว่าไป ตามกฎหมายเค้าต้องออกใบส่งตัวให้ครับ และแถมด้วยเกลี้ยกล่อมให้เข้าโรงเรียน ถ้าเขาเกลี้ยกล่อมขึ้นก็จบกระบวนการครับ เข้าโรงเรียนไป ..แต่ถ้าเรายังยืนยันว่าจะขอใบส่งตัว จะไปกศน.แน่แล้ว เค้าก็จะต้องออกใบให้ เราก็เอาไปสมัครเรียนได้ ซึ่งเด็กที่จะไปเรียนควรช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ พูดจารู้เรื่องแล้วนะครับ อ้อๆแอ้ๆ อย่าเพิ่งไป มักจะมีเรียนอาทิตย์ละวัน หรือมีนัดกิจกรรมบ้าง กีฬาสีบ้างอะไรบ้าง แล้ววันอื่นเราก็อยู่บ้านไป กับไปสอบตามเวลา

5. ศูนย์การศึกษาหรือบางทีเรียกเป็นศูนย์ homeschool ที่ใช้หลักสูตรต่างประเทศ จะจดทะเบียนกับศูนย์ในต่างประเทศอีกที แล้วก็ได้วุฒิจากต่างประเทศครับ ซึ่งเอามาเทียบวุฒิไทยทีหลังได้ หรือพ่อแม่บางคนก็อาจจะติดต่อโดยตรงไปยังสถาบันต่างๆ ในต่างประเทศเองเลยก็มีครับ มีค่าใชัจ่ายมากน้อยแตกต่างกันไป วิธีนี้ทำได้ ผู้ปกครองต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแต่ละศูนย์เองครับ เพราะเขาอาจจะจดทะเบียนหรือไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย หรือจดเป็นบริษัทหรือกระทั่งอื่นๆ หรือถ้าศูนย์ปิดตัวกลางทางก็อาจจะมีปัญหาเรื่องวุฒิการศึกษาได้ ถ้าเลือกวิธีนี้ก็ควรไปจดทะเบียนกับสำนักงานเขตการศึกษาตามข้อแรก แล้วเอาหลักสูตรต่างประเทศนี้ใช้เป็นหลักสูตรอ้างอิงครับ เราจะจดทะเบียนในระบบของประเทศไทยได้ โดยสามารถเรียนตามหลักสูตรต่างประเทศที่เลือกไว้ได้ แล้วหากมีปัญหาอะไรเราก็ยังมีวุฒิการศึกษาตามชั้นปีในประเทศไทยด้วย

6. อันนี้เขียนไว้ให้ครอบคลุม จริงๆคงนับเป็นวิธีการไม่ได้ คือดำดินครับ ไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น จัดการศึกษาเองไปตามชอบ ผิดกฎหมายไทย แต่ปกติไม่มีใครมาตามจับ หรือถ้าโดนร้องเรียน โดนจับจริงๆ ถ้าเราพิสูจน์ได้ว่าช่วงที่ผ่านมาเด็กได้รับการศึกษาที่เหมาะสมกับวัย ได้รับการเลี้ยงดูถูกต้องสมควร ก็ไม่มีปัญหาใดครับ สามารถทำได้ แล้วก็กฎหมายยอมรับให้เราเทียบกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ เพียงแต่อาจจะยากง่ายช้าเร็วไปบ้าง คนทำแบบนี้มีไหม ก็ตอบได้ว่ามีครับ มีไม่น้อยทั้งจากตั้งใจหรือจากความจำเป็นบังคับหรือความไม่สะดวกอื่นๆในการจดทะเบียนตามระบบ

เหล่านี้คือกระบวนการได้มาซึ่งวุฒิการศึกษา ส่วนวิธีการจัดการศึกษานั้น โดยทั่วๆ ไปจะแบ่งเป็นสองช่วงชั้นคือช่วงเด็กเล็ก ป.1-3 และช่วงเด็กโต ป.4-6 ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่ เดี๋ยวมาเขียนต่อครับ

ต้นฉบับ https://www.facebook.com/HomeUnschool/posts/2407610222623739


by Jo on Apr 12, 2019

Posted in คู่มือโฮมสคูล, เรื่องเล่าโฮมสคูล

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง